News
เอปสันยืนหนึ่งในใจผู้บริโภค คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับประเทศ

เอปสันยืนหนึ่งในใจผู้บริโภค คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับประเทศ  เอปสัน ประเทศไทย เดินหน้าตอกย้ำความแข็งแกร่งของแบรนด์ และความมุ่งมั่นในการยกระดับประสบการณ์ ของลูกค้า คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับประเทศในปี 2025 ได้แก่ “Thailand Top Company Awards 2025” ประเภท “Best Customer Experience Award” และ “2025 Thailand’s Most Admired Brand” ในกลุ่มผลิตภัณฑ์พรินเตอร์     บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับรางวัล “Thailand Top Company Awards 2025” ประเภท “Best Customer Experience Award” จัดโดยนิตยสาร Business+ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อยกย่ององค์กรที่มีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม และโดดเด่นด้านการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ยอดเยี่ยม โดยเอปสันได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการว่าเป็นหนึ่งในองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมมอบประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายในทุกมิติ โดยนางสาวสุวัฒนา เหลียงกอบกิจ หัวหน้าฝ่ายบริการองค์กร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนรับมอบรางวัล จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี     ขณะเดียวกัน เอปสันยังคว้ารางวัล “2025 Thailand’s Most Admired Brand” จัดโดย นิตยสาร BrandAge ซึ่งเป็นผลจากการสำรวจผู้บริโภคทั่วประเทศในหลากหลายภูมิภาค โดยร่วมกับคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาชั้นนำเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่แม่นยำ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อแบรนด์ที่โดดเด่นในแต่ละหมวดสินค้า ในปีนี้ เอปสันได้รับเลือกให้เป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในหมวดผลิตภัณฑ์ไอทีและดิจิทัล กลุ่มผลิตภัณฑ์พรินเตอร์ โดยนางสาววิสาข์ ธนวิภาคย์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายแบรนด์และสื่อสารองค์กร เป็นผู้รับมอบรางวัล  การที่เอปสันสามารถคว้าสองรางวัลใหญ่นี้ สะท้อนให้เห็นว่าเอปสันยังคงตอกย้ำพันธกิจหลักในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความพึงพอใจของลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับผู้คนและโลกใบนี้  

มหาจักรฯ มอบความสุขให้คุณในเดือนเกิด MAHAJAK PLUS BIRTHDAY PRIVILEGE 2025 สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก “มหาจักรพลัส”

มหาจักรฯ มอบความสุขให้คุณในเดือนเกิด  MAHAJAK PLUS BIRTHDAY PRIVILEGE 2025 สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก “มหาจักรพลัส” บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด จัดแคมเปญ “Mahajak Plus Birthday Privilege 2025” แคมเปญพิเศษฉลองวันเกิดของสมาชิก Mahajak Plus เพื่อส่งมอบความสุขและความคุ้มค่าในโอกาสพิเศษ มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่เหนือระดับให้กับลูกค้า สุดคุ้มด้วยสิทธิพิเศษในเดือนเกิด (Birthday Privilege) ตลอดทั้งปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2569 รายละเอียดสิทธิพิเศษภายใต้แคมเปญ สมาชิก Mahajak Plus จะได้รับ สิทธิพิเศษ 2 ต่อ ได้แก่ สิทธิ์แรก : รับส่วนลด On Top 10% เพื่อซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องเสียงและเครื่องฟอกอากาศ Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Mori Series ภายในเดือนเกิดของตนเอง โดยสามารถใช้สิทธิ์ได้ทั้งทางหน้าร้าน และออนไลน์ที่ร่วมรายการ สิทธิ์ที่สอง : หลังจากซื้อสินค้าในเดือนเกิดแล้ว จะได้รับสิทธิ์หมุนกาชาปอง จำนวน 1 ครั้ง เพื่อรับของรางวัล เป็นของขวัญในเดือนเกิด โดยของรางวัลในตู้กาชาปองมีดังต่อไปนี้ 1. กระบอกน้ำ JBL X The Jum 2. กระเป๋า JBL X The Jum 3. ร่ม JBL X The Jum 4. เสื้อ Hoodie JBL X The Jum 5. กระเป๋า Mitsubishi Heavy Duty 6. กระบอกน้ำ Mabo 7. หูฟัง JBL Tune 310 USB-C 8. ลำโพง JBL Go4 ระยะเวลาแคมเปญ : เริ่ม 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2569   เงื่อนไข 1.    ไม่สามารถแลก เปลี่ยน หรือทอนเป็นเงินสดได้ 2.    สิทธิ์ 1 คน/ 1 สิทธิ์ เท่านั้น และไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้ผู้อื่นได้ 3.    สิทธิพิเศษในเดือนเกิด สามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะในเดือนเกิดของสมาชิกเท่านั้น ทั้งนี้ในส่วนของการสั่งซื้อทางออนไลน์ สมาชิกสามารถรับ Code ส่วนลดซื้อออนไลน์ได้ที่  Line : @Mahajakstore 4.    ส่วนลดในเดือนเกิดสามารถ On Top กับราคาพิเศษได้ และต้องซื้อสินค้าตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไปเท่านั้น 5.    สิทธิ์ส่วนลดในเดือนเกิด สามารถใช้สิทธิ์การสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ www.mahajak.com เท่านั้น และทางหน้าร้านที่ร่วมรายการทั้ง 9 สาขาโดยมีรายละเอียดดังนี้ - โชว์รูมมหาจักร สาขาสำนักงานใหญ่ - โชว์รูมมหาจักร สาขารามคำแหง - ร้าน Dream Theater สาขา Siam Paragon - ร้าน Sound City สาขา Siam Paragon - ร้าน Sound City สาขา Emquartier - โชว์รูมมหาจักร สาขาเชียงใหม่ - โชว์รูมมหาจักร สาขาพัทยา - โชว์รูมมหาจักร สาขาสมุย - โชว์รูมมหาจักร สาขาภูเก็ต 6.    แคมเปญ Mahajak Plus Birthday Privilege เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม  2569 7.    บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง / ยกเลิกเงื่อนไข ได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด Tel : 02-256-0020 Ext : 1382, 1708 หรือ www.mahajak.com    

มหาจักรมอบสิทธิพิเศษเหนือระดับ กับแคมเปญ "MAHAJAK PLUS PRIVILEGE 2025" สิทธิพิเศษดีๆ ที่คุณไม่ควรพลาด

มหาจักรมอบสิทธิพิเศษเหนือระดับ กับแคมเปญ  "MAHAJAK PLUS PRIVILEGE 2025" สิทธิพิเศษดีๆ ที่คุณไม่ควรพลาด  บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด จัดแคมเปญสุดพิเศษ “Mahajak Plus Privilege 2025” สำหรับลูกค้าที่ใช้สินค้า หรือซื้อสินค้า ของแท้จากบริษัทฯ มหาจักร ลงทะเบียนรับประกันสินค้า ได้รับสิทธิ์ประกันสินค้าเพิ่ม พร้อมเป็นสมาชิก “มหาจักรพลัส” รับสิทธิพิเศษต่างๆ มากมายตลอดทั้งปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2569 ให้คุณขยายเวลารับประกันสินค้าเพิ่มฟรี!  รับสิทธิพิเศษง่ายๆ เพียงซื้อสินค้าตามเงื่อนไข       ซื้อสินค้าประเภทเครื่องเสียงของบริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ทุกประเภท และทำการลงทะเบียนผ่าน Line: Mahajakplus รับสิทธิ์ประกันเพิ่ม 3 เดือน       ซื้อสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty ช่องทางใดก็ได้ และทำการลงทะเบียนผ่าน Line: @Mitsuheavydutyth รับสิทธิ์ขยายระยะเวลารับประกัน 1 ปีระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 มิถุนายน 2568 และรับสิทธิ์ขยายระยะเวลารับประกัน 6 เดือน เมื่อลงทะเบียนนอกช่วงเวลาดังกล่าว       สมาชิก Mahajak Plus ในเดือนเกิด รับ ส่วนลด 10% On Top (สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท) เมื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องเสียงและเครื่องฟอกอากาศ Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Mori Series ทั้งหน้าร้าน และออนไลน์ที่ร่วมรายการ สมัครสมาชิก MAHAJAK PLUS ฟรี! เพื่อรับสิทธิพิเศษตลอดทั้งปี พร้อมเพลิดเพลินกับโปรโมชั่นที่คุ้มค่ามากกว่าใคร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.mahajak.com/th/mahajak-plus ระยะเวลากิจกรรม Mahajak Plus ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2569     เงื่อนไข 1. สิทธิพิเศษไม่สามารถแลก เปลี่ยน หรือทอนเป็นเงินสดได้ 2. ไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้ผู้อื่นได้ 3. สิทธิ์ส่วนลดในเดือนเกิด สามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะในเดือนเกิดเท่านั้น 4. ส่วนลด 10% ในเดือนเกิดสามารถ On Top กับสินค้าราคาพิเศษได้ (ไม่เกิน 1,000 บาท) 5. สิทธิ์ส่วนลดในเดือนเกิด สามารถใช้สิทธิ์การสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ www.mahajak.com และหน้าร้านที่ร่วมรายการทั้ง 9 สาขา เท่านั้น โดยสาขาที่ร่วมรายการมีดังต่อไปนี้ 1. โชว์รูมมหาจักร สาขาสำนักงานใหญ่ 2. โชว์รูมมหาจักร สาขารามคำแหง 3. ร้าน Dream Theater สาขา Siam Paragon 4. ร้าน Sound City สาขา Siam Paragon 5. ร้าน Sound City สาขา Emquartier 6. โชว์รูมมหาจักร สาขาเชียงใหม่ 7. โชว์รูมมหาจักร สาขาพัทยา 8. โชว์รูมมหาจักร สาขาสมุย 9. โชว์รูมมหาจักร สาขาภูเก็ต  6. สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ สามารถใช้สิทธิ์หมุนกาชาปองได้ที่หน้าร้านตามข้างต้นนี้ โดยนำหลักฐานการสั่งซื้อทางออนไลน์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ 7. ในส่วนของการสั่งซื้อทางออนไลน์ สมาชิกสามารถรับ Code ส่วนลดซื้อออนไลน์ได้ที่ Line : @mahajakstore  8. กิจกรรม Mahajak Plus ในเดือนเกิด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2569 9. ส่วนลดในข้อ 4. และ 5. ให้ยึดถือจากเอกสารภายในราคาเครื่องปรับอากาศช่องทาง Showroom ประจำปี 2568 เป็นสำคัญ 10. ส่วนลด 10% อะไหล่เครื่องเสียงใช้ในการซ่อมเท่านั้น 11. สิทธิ์ในการผ่อนชำระ 0% นาน 10 เดือน (เฉพาะธนาคารที่ร่วมรายการ) ได้เฉพาะราคาปกติเท่านั้น 12. กรณีซื้อเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty แบบผ่อนชำระ  เมื่อซื้อสินค้าเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty ด้วยบัตรเครดิตกสิกรไทย, ไทยพาณิชย์, กรุงไทย ได้รับสิทธิ์ในการผ่อนชำระ 0% เป็นเวลา 10 เดือน ในราคา Showroom บริษัท มหาจักดีเวลอปเมนท์ จำกัด 13. เมื่อติดต่อซื้อสัญญาบริการเครื่องปรับอากาศกับศูนย์บริการได้รับสิทธิพิเศษดังนี้  13.1 รับสิทธิพิเศษในการซื้อสัญญาบริการประเภทต่าง ๆ ในระดับ Standard, Gold Plus 13.2 รับสิทธิพิเศษฟรีค่าบริการซ่อมเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty เมื่อซื้อสัญญาบริการทุกระดับ 13.3 รับส่วนลดอะไหล่และน้ำยา 10% เมื่อซื้อสัญญาบริการทุกระดับ 13.4 รับสิทธิพิเศษในการเปลี่ยนแผ่นฟอกอากาศฟรี 1 คู่ เมื่อซื้อสัญญาบริการทุกระดับ 13.5 รับประกันคุณภาพงานล้างสูงสุด 2 ปี  หมายเหตุ :  รายละเอียดแพ็คเกจสัญญาบริการ ให้ยึดถือตามเอกสารภายในเกี่ยวกับนโยบายการให้บริการเครื่องปรับอากาศมิตซูบิชิ เฮฟวี่ ดิวตี้ โดยศูนย์บริการ ประจำปี 2568 เป็นสำคัญ 14. ส่วนลดและติดตั้งเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty เครื่องใหม่แทนเครื่องเดิม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mahajak.com 15. ระยะเวลาแคมเปญสิทธิพิเศษ Mahajak Plus เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2569 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด Tel : 02-256-0020 Ext : 1382,1708 หรือ www.mahajak.com    

JBL ผนึก Blu-O Rhythm & Bowl จัดการแข่งขัน “JBL Karaoke Star Contest” ค้นหาดาวคาราโอเกะสู่เส้นทางศิลปินกับ SPICYDISC!

JBL ผนึก Blu-O Rhythm & Bowl จัดการแข่งขัน “JBL Karaoke Star Contest”  ค้นหาดาวคาราโอเกะสู่เส้นทางศิลปินกับ SPICYDISC! กรุงเทพฯ - บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ผู้นำด้านเครื่องเสียงและตัวแทนจำหน่าย JBL อย่างเป็นทางการในประเทศไทย จับมือ บริษัท เมเจอร์ โบว์ล กรุ้ป ผู้นำด้านความบันเทิงคาราโอเกะระดับพรีเมียม Blu-O Rhythm & Bowl เปิดเวที "Mahajak presents JBL Karaoke Star Contest" การแข่งขันร้องเพลงคาราโอเกะครั้งแรก ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 629,500 บาท พร้อมโอกาสสุดพิเศษในการร่วมงานกับค่ายเพลง SPICYDISC      คุณพัชรวดี ว่องปรีชา  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า "มหาจักรพร้อมที่จะสนับสนุนคนไทยที่รักการร้องคาราโอเกะ การแข่งขัน Karaoke Contest ที่จัดร่วมกับ Blu-O ครั้งนี้ เราภูมิใจนำเสนอเทคโนโลยีเครื่องเสียงจาก JBL และ Shure ที่มอบความคมชัดและพลังเสียงที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะช่วยให้เสียงร้องของผู้แข่งขันโดดเด่นยิ่งขึ้น สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับทุกคน" ด้าน คุณธนาธร สุวิชา ผู้อำนวยการ บริษัท เมเจอร์ โบว์ล กรุ้ป จำกัด กล่าวว่า “Blu-O มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนคนที่มีใจรักในเสียงเพลง เวทีนี้จะเป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพ พร้อมรางวัลสุดพิเศษคือ สิทธิ์ร้องคาราโอเกะฟรี 1 ปี เพื่อฝึกฝนและสนุกไปกับเสียงเพลง" คุณวรวิทย์ ตันติประยุกต์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท สไปร์ซซี่ดิสก์ จำกัด กล่าวเสริมว่า "เราตื่นเต้นที่ได้ร่วมค้นหานักร้องที่มีศักยภาพ จุดเด่นในการตัดสิน และได้คุณฟุ้ง-อัครชนช์ ราชปันดิ มือกีตาร์และโปรดิวเซอร์จากวง Better Weather มาร่วมเป็นกรรมการตัดสิน หวังว่าเราจะได้พบกับดาวดวงใหม่ในวงการเพลง มาโชว์ศักยภาพกันให้เต็มที่ และเตรียมตัวให้พร้อมกับการก้าวสู่เส้นทางงานดนตรีกับค่ายเรากันครับ" สำหรับกติกาในการสมัคร ผู้สมัครต้องโพสต์คลิปร้องเพลง 1 เพลง ผ่าน FACEBOOK และ TikTok ของตนเอง (เปิดโพสต์เป็นสาธารณะ) พร้อมติดแฮชแท็ก #JBLKaraokeStarContest #Mahajak  กรอกใบสมัครผ่าน Google Form ระยะเวลารับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568  ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2568  รอบ Audition : 24 พฤษภาคม 2568 และรอบ Final : 31 พฤษภาคม 2568     รางวัลการแข่งขัน  - รางวัลชนะเลิศ :   เงินรางวัล 70,000 บาท   ชุดลำโพง JBL PA คาราโอเกะ Set Beyond 1 และ Pasion 6 ราคา 68,400 บาท (จำนวน 1 Set)   ไมโครโฟน SHURE SM58 Special Black Edition ราคา 7,700 บาท (จำนวน 1 ตัว)  สิทธิ์ร้องคาราโอเกะฟรี 1 ปีจาก Blu-O Karaoke และ โอกาสร่วมทำเพลงกับค่าย SPICYDISC  - รองชนะเลิศอันดับ 1 :   เงินรางวัล 20,000 บาท  ไมโครโฟน SHURE SM58 Special Black Edition ราคา 7,700 บาท (จำนวน 1 ตัว) - รองชนะเลิศอันดับ 2 :   เงินรางวัล 10,000 บาท   ไมโครโฟน SHURE SM58 Special Black Edition ราคา 7,700 บาท (จำนวน 1 ตัว) อย่าพลาด! ใครที่มีใจรักการร้องเพลงคาราโอเกะ นี่คือโอกาสครั้งสำคัญในการแจ้งเกิดในวงการเพลง  ติดตามคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mahajak.com  และ Facebook : MahajakPro  ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง FB: MahajakPro, IG: @MahajakPro, หรือทาง Line OA: @Mahajakstore  

Review
Furutech Origin Power NCF (R) สายไฟเอซีที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพเสียงไปตลอดกาล

Furutech Origin Power NCF (R) สายไฟเอซีที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพเสียงไปตลอดกาล สายไฟเอซี เป็นปฐมบทของการปรับปรุงเครื่องเสียงที่ถือว่า สมควรเปลี่ยนสำหรับเครื่องเสียงทุกประเภท ทั้งแหล่งโปรแกรม DAC หรือแอมปลิไฟร์ทั้งหลาย สายไฟระดับเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ ของFurutech จากประเทศญี่ปุ่น มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป     Furutech มุ่งมั่นที่จะนำเสนออุปกรณ์เสียงคุณภาพสูงสุดในราคาที่เข้าถึงได้เสมอมา และซีรีส์ Origin ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ปรัชญานี้ สายไฟ Origin Power NCF (R) ประกอบด้วยตัวนำ α (Alpha) μ-OFC ของ Furutech ที่มั่นใจได้ถึงความสามารถในการนำไฟฟ้าและความบริสุทธิ์ของสัญญาณที่ดีเลิศ มอบประสบการณ์เสียงที่สมจริงและดื่มด่ำ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อนักเล่นเครื่องเสียงระดับออดิโอไฟล์ และวิศวกรเสียงมืออาชีพ     ซีรีส์ Origin Furutech ได้กำหนดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพระดับพรีเมียมและมูลค่าใหม่ ทำให้เสียงคุณภาพสูงสามารถเข้าถึงได้มากกว่าที่เคย    โครงสร้างโดยรวมของสายไฟรุ่นนี้ ด้วยคุณลักษณะพิเศษจาก Pure Transmission และวัสดุ NCF ของ Furutech เทคโนโลยี Pure Transmission ของ Furutech ได้รับการออกแบบด้วยความเอาใจใส่พิถีพิถันในทุกแง่มุมของพลังงานและการถ่ายโอนสัญญาณ โดยแก้ไขปัญหาทั่วไป เกี่ยวกับความต้านทานการสัมผัส สถานะความเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า EMI และความสามารถในการป้องกัน RFI ด้วยวิศวกรรมที่เหมาะสมที่สุด โดยการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่ดีที่สุดและกระบวนการขั้นสูง Furutech จึงมอบประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมได้อย่างสม่ำเสมอ      การนำวัสดุ "NCF" อันล้ำสมัยของ Furutech มาใช้กับขั้วต่อเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม NCF ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อต่อต้านไฟฟ้าสถิต ช่วยลดการสั่นสะเทือนและขจัดเสียงรบกวนไฟฟ้าสถิตที่ไม่ต้องการ          ผลลัพธ์ที่ได้คือเวทีเสียงที่สะอาดขึ้น แม่นยำขึ้น ปราศจากสีสัน ทำให้เสียงที่แท้จริงจากแหล่งกำเนิดเสียงเปล่งประกายออกมาอย่างน่าประทับใจ      ในด้านรายละเอียดทางเทคนิคที่พิเศษกว่าใคร คุณสมบัติหลัก เป็นสายไฟที่ออกแบบมาอย่างสวยงามด้วยตัวนำ α (Alpha) μ-OFC ใช้ฉนวนโพลีเอทิลีนพิเศษที่ทนต่อแรงดันไฟฟ้าสูงและความร้อน ให้ความจุที่ต่ำกว่าและการหน่วงเชิงกลที่ดีกว่า      มีเทคโนโลยี Ground/Earth Jumper ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร แม้ในระหว่างการใช้งานปกติทั่วไป สายเคเบิลทั่วไปก็ยังสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่ต้องการขึ้นมาได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการรบกวนได้      โดยคลื่นดังกล่าวจะแสดงผลเด่นชัดที่สุดในบริเวณที่สายเคเบิลงอหรือพับ ดังนั้น "Earth Jumper" ของ Furutech แก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้แผ่นทองแดงที่สัมผัสกับสกรูยึด ต่อกับสายดิน ทำให้ศักย์แม่เหล็กไฟฟ้ามีเสถียรภาพ         ในการดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่ต้องการนี้ทำให้ระบบปรับปรุงคุณภาพเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการสั่นสะเทือนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างมาก ส่งผลให้เสียงที่ได้มีความชัดเจนและเสถียรมากขึ้น      มีกลไกการยึดสายแบบพิเศษเพื่อให้มีหน้าสัมผัสที่แน่นหนาและส่งกำลังได้อย่างบริสุทธิ์และเสถียร รวมถึงโครงสร้างของสายที่เป็นเอกลักษณ์ช่วยให้มีหน้าสัมผัสที่แน่นหนาที่สุดเท่าที่เคยมีมาในแวดวงสายไฟเอซี       ปลอก PVC ปลอดตะกั่วที่ยืดหยุ่นเป็นพิเศษ 3 ชั้นที่เป็นไปตามมาตรฐาน RoHS ***ช่วยแยกการสั่นสะเทือนได้ดีขึ้น       สายไฟ Furutech Origin Power NCF (R) หุ้มฉนวนด้วยโพลีเอทิลีน (PE) ซึ่งช่วยลดความต้านทานที่เกิดจากความจุ ส่งผลให้มีความละเอียดของเสียงที่มากขึ้น ชัดเจนขึ้น ไดนามิกที่ทรงพลัง และเวทีเสียงที่เงียบเป็นพิเศษ      Preview  นับตั้งแต่ได้รับมาวันแรก ผมก็มานั่งวิเคราะห์ดูรูปทรงที่ขึงขังงดงาม และซ่อนคุณสมบัติชั้นยอดภายใน ตั้งแต่หัวขั้ว และท้ายขั้วสัญญาณ ไปจนถึงฉนวนห่อหุ้ม ที่ให้สัมผัสละมุน สามารถจัดให้โค้งงอไปตามช่องว่างด้านหลังเครื่องและผนังได้เป็นอย่างดี    เห็นเป็นสีขรึมๆ ขึงขัง แต่หาเจาะลึกองค์ประกอบภายใน จะพบว่าล้ำลึกมากกว่าที่เห็นมากมายนัก     • ในชั้นของตัวนำ ภายในบรรจุวัสดุตัวนำ 7 มัดจำนวน 35 เส้นแบบ α (Alpha) μ- OFC 0.18 มม. x 3 แกน -9AWG (หรือมีขนาด 6.22 sq.mm) รวมกับฉนวน โพลีเอทิลีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5.5 มม.      • มีปลอกหุ้มหนึ่งชั้นด้านในเป็นพีวีซีป้องกันการสั่นสะเทือน ที่เป็นไปตามมาตรฐาน RoHS โดยผสมผสานกับวัสดุ NCF พิเศษ และสารประกอบอนุภาคคาร์บอนเป็นวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (สีดำ) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 13.5 มม.        • เฉพาะส่วนของ “ชีลด์ภายใน” ที่ห่อหุ้ม ก็จะมีตัวนำ α (Alpha) μ–OFC 9 x 24 เส้น 0.12 มม. ถักทอหุัมไว้และมีปลอกหุ้ม 2 ชั้น (ตรงกลาง) ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคคาร์บอนและพีวีซี สำหรับป้องกันการสั่นสะเทือนที่เป็นไปตามมาตรฐาน RoHS (สีดำ) • ด้านเปลือกนอกสุด มีปลอกหุ้ม 3 ปลอก หุ้มด้านนอกด้วยพีวีซียืดหยุ่นที่เป็นไปตามมาตรฐาน RoHS (สีน้ำเงินมุก) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 18.0 มม.     รูปลักษณ์ภายนอก ยังหุัมด้วยเส้นด้ายไนลอนที่เป็นไปตามมาตรฐาน RoHS ถัก ปลอกนอก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 19.0 มม.    เรียกว่าโครงสร้างอัดแน่นเทคโนโลยีเพียบเลยครับ สำหรับสายไฟเอซี ระดับไฮเอ็นด์ Furutech  Origin Power NCF (R)     ผลจากการทดสอบใช้งานเป็นอย่างไร ผมจะขอสรุปสั้นๆ เข้าใจง่าย ว่าสิ่งที่เราจะได้คือ   • พลังอัดฉีดเสียงนั้นดีขึ้นอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว • รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในระดับปลายเสียงที่ “หยุมหยิม ระยิบระยับ” เรียกว่าแทบไม่เคยได้ยิน ดีเทลแบบนี้จากสายไฟเอซี มาก่อนเลย • เสียงต่ำอิ่มขึ้น สมบูรณ์มากขึ้น มีการทอดยาวของเบส ให้ทั้งความกระชับ และหยุดสั่นค้างได้อย่างรวดเร็ว • ให้ความรู้สึกถึงเสียงที่เป็นธรรมชาติสมจริง ให้ความรู้สึกสะอาด แม่นยำขึ้น โดยเฉพาะช่วงมิดเร้นจ์  เสียงกลาง เสียงร้อง มีน้ำหนักยอดเยี่ยม โทนเสียงผ่อนคลาย • เวทีเสียงโอ่อ่า ความลึก-ตื้น หรือความกว้างของเวทีเสียงนั้น ให้มิติที่ดีเลิศเลยทีเดียวครับ      Furutech Origin Power NCF (R) คือสายไฟเส้นเดียว ที่สามารถเปลี่ยนและยกระดับคุณภาพเสียงอย่างชัดแจ้ง แม้จะเปลี่ยนแทนสายไฟเดิมลงไปเพียงเส้นเดียว ที่เครื่องแหล่งโปรแกรม หรือที่แอมป์ขยายเสียง ก็เห็นผลของการอิมพรูฟ ในเครื่องเสียงทั้งชุด ที่คุณจะต้องเซอร์ไพรส์ในทันที     จากผลการทดสอบ ถ้าจะต้องเลือกเปลี่ยน Origin Power NCF (R) กับจุดใดจุดหนึ่ง ขอแนะนำที่แหล่งโปรแกรมก่อนครับ มีผลลัพธ์อันชัดเจนที่สุด    ผลลัพธ์ต่อแหล่งโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น ซีดีเพลย์เยอร์ DAC หรือสตรีมเมอร์ มีผลมากจริงๆ หลังจากนั้นจะไปเปลี่ยนที่แอมปลิไฟร์ ในเส้นถัดไปก็ได้ครับ เนื่องจากสายรุ่นนี้ ราคาก็สูงตามคุณภาพไฮเอ็นด์ของเขานั่นละครับ      กล่าวสรุปแบบสั้นๆ ได้ว่าสายไฟเอซี Origin Power NCF (R) จาก Furutech คือ ปรากฏการณ์อัศจรรย์อย่างหนึ่งของวงการสายสัญญาณระดับออดิโอไฟล์ที่น่าตื่นเต้นประทับใจครับ Furutech Origin Power NCF (R)  ราคา 83,000.- บาท สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Clef Audio Co., Ltd. Tel: 0-2932-5981 หรือ LINE ID : @clefaudio  

ASL INT-50L สุดทางเสียงดนตรีกับแอมป์คลาส A

ASL INT-50L สุดทางเสียงดนตรีกับแอมป์คลาส A ผลงานของ Absolute Audio Labs. (ASL) เครื่องเสียงแบรนด์ไทยที่ออกแบบและผลิตแอมปลิไฟร์คลาส A ระดับยักษ์มาแล้วหลายปี ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทแยกชิ้นปรี-เพาเวอร์ และครั้งนี้เป็นการดีไซน์อินทิเกรเต็ดแอมป์ ASL INT-50L ที่ไบอัสกระแสวงจรในแบบ คลาส A Push Pull มีกำลังขับ 50 วัตต์ต่อแชนแนล (ซึ่งจะไม่ใช่แบบ ซิงเกิ้ลเอ็นด์คลาส A)          จุดเด่นคือจะให้กำลังที่สูงกว่าแบบซิงเกิ้ลเอ็นด์ ในขณะที่ใช้กำลังไฟเท่าๆ กัน ในแง่ของการดีไซน์ มีข้อดีตรงที่สามารถแปรผันกระแสที่ไหลผ่านลำโพงเมื่ออิมพีแดนซ์ต่ำลงไปอีก ได้ราวหนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว!          ระบบพุชพูลคลาสเอนั้น ถ้าออกแบบวงจรได้ดี จะสามารถปรับการทำงานของสัญญาณเสียงและเฟสให้สมมาตรกันได้ อันจะส่งผลต่อ ค่าความเพี้ยนทาง THD ต่ำลงไปได้เรื่อยๆ นั่นคือการขยายเสียงที่เที่ยงตรงแม่นยำ และต่อเนื่องอย่างแท้จริง         จากข้อมูลของผู้ผลิต ระบบพุชพูล ASL INT-50L ได้ออกแบบโดยศึกษาพฤติกรรมการใช้งานของนักเล่นเครื่องเสียง ที่เมื่อคุ้นชินกับระดับเสียงที่ฟังอยู่ในทุกๆ วัน ก็อยากขยับความดังขึ้นไปอีกเล็กน้อย โดยยังคงอยากได้รายละเอียดและบรรยากาศเดิมๆ อยู่             INT-50L จะวางระบบวงจรอยู่ชุดหนึ่ง ที่เรียกว่า QUAD OPTO BIAS ทำหน้าที่ควบคุมกระแสภายในวงจรด้วยระบบแสง ถึง 4 ชุด ช่วยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงอันฉับพลันของกระแสที่ไหลผ่านลำโพงในแต่ละเฟส แล้วนำปรับกระแสภายในวงจรให้เตรียมพร้อมที่จะขยายสัญญาณได้อย่างราบรื่นที่สุด           โดยที่วงจร Class A มีพื้นฐานการไบอัสกระแส ป้อนไฟเลี้ยงให้อุปกรณ์ทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ราบรื่นต่อเนื่อง แตกต่างจากคลาสอื่น ที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงการสะวิงของสัญญาณ ก็จะทำให้เสียงจะขาดความต่อเนื่องและแผดกร้าวได้          INT-50L เป็นพุชพูล คลาสเอ ที่มีความเพี้ยนต่ำ ในช่วงการฟังปกติ 4-5 วัตต์แรก แต่เมื่อเร่งโวลลุ่มขึ้นมาจากเดิมอีกราวๆ 10% วงจร QUAD OPTO BIAS ก็จะทำการปรับเปลี่ยนการไหลของกระแส ให้มีคุณลักษณะของ ฮาร์มอนิกส์ ลำดับที่สองเด่นขึ้นมา จนถึงช่วงกึ่งหนึ่งของอัตราขยาย จึงกลับเข้ามาสู่โหมดความเพี้ยนต่ำอีกที ตรงนี้จะมีผลต่อคุณภาพเสียงที่ดีอย่างต่อเนื่อง           INT-50L ยังทำงานแบบ CFA (Current Feedback Amplifier) ที่มีความแม่นยำในการจัดการเรื่องเฟสเสียง ไม่ให้เลื่อนค่าเฟสไปเมื่อต้องใช้งานกับลำโพงที่มีวงจรครอสโอเวอร์อันซับซ้อนอีกด้วย           INT-50L ใช้อุปกรณ์ภายในที่ค่อนข้างพิเศษ เช่น เจเฟท และ มอส เฟ็ต จาก TOSHIBA และทรานซิสเตอร์จาก FAIRCHILDS ที่เป็นระดับหายากเป็นพิเศษไปแล้วในปัจจุบันนี้ และภาคเอาต์พุตยังใช้มอสเฟ็ต โมดูล ขนาดใหญ่กว่าอุปกรณ์ทั่วๆ ไป ถึง 4 เท่า!!!            มีการคัดเลือกเกรดอุปกรณ์แต่ละชิ้นอย่างพิถีพิถัน โดยใช้เครื่องวัดกราฟการทำงานของอุปกรณ์ (curve tracer) ชนิดพิเศษ ที่จะมีข้อมูลของอุปกรณ์แต่ละตัว ที่มีคุณสมบัติตรงตามซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจำลองการทำงาน ไว้เป็นมาตรฐานการวัด           จุดที่ผมคิดว่า มีผลดีต่อการใช้งานจริงมากที่สุด คือมีการออกแบบให้ระดับโวลุ่มแปรผันไปในลักษณะการใช้งานจริง โดยย่านการทำงานในช่วง 25 วัตต์แรก ตั้งแต่โวลลุ่ม 0 ถึง 30 จะค่อยๆ เพิ่มความดังในสเต็ป ละนิด ผู้ที่นิยมลำโพงยุควินเทจจึงสามารถนำมาใช้กับลำโพงฟูลเร้นจ์ หรือ ฮอร์น ความไวสูงระดับ 94-105dB ได้เป็นอย่างดี            และเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งโวลลุ่มที่ 31 ถึง 50 ก็จะทวีความดังขึ้นมาอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับลำโพงความปานกลาง 87-92dB  และสุดท้ายระดับโวลลุ่มที่ 50 ถึง 75 ความไวของอัตราขยายก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากวงจรอัพกระแสสำรอง เพื่อให้เหมาะสมกับลำโพงยุคปัจจุบัน ที่มีความไวต่ำ 82-85dB         จัดว่าออกแบบไปตามพฤติกรรมการใช้งานจริง ของออดิโอไฟล์           ทุกท่านจะสามารถสัมผัสได้จากการทำงานอย่างราบรื่นขณะใช้งานขยายในวงจร           ตามข้อมูลของผู้ผลิต ในเทคนิคเชิงโครงสร้างนั้น ได้มีการให้รายละเอียดไว้ดังต่อไปนี้ 1. ขั้ว RCA อินพุตต่อตรง “ลัดสั้น” เข้าภาคควบคุมโวลลุ่ม และปรีแอมป์โดยตรง ลดทอนการสูญเสียสัญญาณ และสัญญาณรบกวนได้เป็นอย่างดี 2. ออกแบบการวางแผงวงจรแบบสมมาตร ทั้ง ซ้าย-ขวา รวมถึงเฟสบวก และลบของสัญญาณ 3. ใช้ตัวเก็บประจุขนาดรวม 120,000 ไมโครฟารัด ถือว่ามากที่สุดในอินทิเกรทแอมป์กำลังขับเท่าๆ กัน 4. ไดโอด เร็กติฟายเออร์ ใช้แบบตัวถัง SOT-227 ขนาด 80 แอมแปร์ ซึ่งจะพบเจอได้ในเพาเวอร์แอมป์ชั้นนำเท่านั้น 5. การจ่ายกระแสไฟให้อุปกรณ์มอสเฟ็ตเอาต์พุต ชนิดพิเศษ ใช้ระบบฮาร์ดวายริ่ง เพื่อการส่งผ่านกระแสไฟสูงสุด สามารถรองรับเอาต์พุต ขับโหลดได้ต่ำสุดถึง 2 โอห์ม 6. ตัวถังอลูมินั่มทั้งชิ้น ยึดด้วยน็อตอลูมินั่มรอบตัวถัง และใช้น็อตไทเทเนี่ยมชุบทองด้านหน้า 7. หน้าปัดแสดง ช่องสัญญาณอินพุต และตัวเลขโวลุ่มขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจน ซึ่งจะลดแสงลงเมื่อเราคอนโทรลเรียบร้อยแล้ว         อุปกรณ์มอสเฟ็ตเอาต์พุต ใช้ระบบฮาร์ดวายริ่ง เพื่อรองรับกระแสขนาดใหญ่           มีระบบ AC NOISE FILTER และ RECTIFIER DIODE ขนาดใหญ่ ที่มีระบบป้องกันกราวนด์ลูป (GROUND LOOP ELIMINATE) ในตัว ส่วนหม้อแปลงชนิดเทอรอยดัล ขนาดถึง 450VA ฮีทซิ้งค์ระบายความร้อนจัดวางตำแหน่งทั้งสองด้านซ้ายขวาของตัวถังดูขึงขังมาก     Test Report การทดสอบของผมคือ อยู่ในแง่ของการใช้งานจริง โดยใช้เวลาถึงสองสัปดาห์เต็ม จึงมีบทสรุป ASL INT-50L แอมปลิไฟร์ระบบคลาส A ดังต่อไปนี้ 1. ตัวถังมีโครงสร้างบึกบึนแข็งแรง อาจกล่าวได้ว่า แอมป์ระดับราคานี้ แทบไม่พบคุณสมบัติเท่าเทียม ASL INT-50L ฮีทซิ้งค์มีรูปทรงที่ลงตัว ระบายความร้อนได้ดี โครงสร้างนี้มีผลต่อการป้องกันการรบกวนจาก Noise ได้ครบถ้วน           และโดยรอบๆ ตัวถัง โครงสร้างเครื่องจะไม่มีส่วนมุมคมบาดมือ การเลเซอร์เจาะตราโลโก้ -รุ่น บนเพลทหน้าปัด ถือว่าผลงานมาตรฐาน ในเชิงโครงสร้างทำได้ประณีตมากเลยครับ   2. หน้าปัด ที่มีดิสเพลย์กลางเครื่องแม้ส่วนตัวผมคิดว่าไม่มีความจำเป็น แต่ในความเป็นจริง เมื่อใช้งาน จะให้ความสะดวกในการแจ้งระดับความดังเป็นตัวเลขขนาดใหญ่ คอนโทรลได้จากปุ่มโวลุ่มและซีเลคเตอร์ หรือรีโมตคอนโทรล           และในช่วง 2-3 วินาที ไฟที่สว่างนัันก็จะลดแสง หรือ “ดิม” ลงไป ไม่ให้เป็นจุดสะดุดต่อสายตาแต่อย่างใด 3. บุคลิกเสียงติดมาทางหวานฉ่ำละมุนที่ปลายเสียงจะคล้ายเสียงเครื่องหลอดมากครับ และให้พลังที่หนักแน่นตั้งแต่แรกเปิดเครื่องไปจนถึงชั่วโมงสุดท้ายที่คุณเปิดใช้งาน ต้องชมเชยว่า น่าประทับใจตรงเป็นแอมป์คลาส A ที่กำลังดีไม่มีตกเลยจริงๆ ไม่ว่าจะขับที่ความดังแผ่วเบา หรือใช้อัตราสะวิงที่ความดังสูงๆ ก็ตาม 4. ในแง่อัตราสะวิง ให้ค่าไดนามิคดีมาก เปรียบเทียบแอมป์คลาส A ด้วยกัน ถือว่าโดดเด่นมาก และด้วยกำลังขับขนาด 50 วัตต์ คลาส A ของ INT-50L นี้ เทียบกับแอมป์คลาสอื่นๆ จะเหมือนเรากำลังรับฟังแอมป์ขนาด 150 วัตต์ ที่ผมเคยใช้งานเลยละครับ           เสียงที่มีความโดดเด่นเรื่องการให้รายละเอียด จากความดังระดับต่ำๆ ไปจนถึงระดับความดังสูง ทำได้อย่างมีสัดส่วนดนตรีอันสวยงาม และเสียงโอ่อ่าเปิดเผยเป็นพิเศษ 5. การไดรฟ์ลำโพงซึ่งใช้วงจรครอสโอเวอร์ ที่มีความต้านทานสลับซับซ้อนอย่าง BBC LS3/5A, LS 5/9 หรือ Harbeth P3 ESR Monitor 30.2 รวมถึง Totem One ที่ว่า ขับยากๆ เหล่านี้ ผมทดลองทั้งหมดแล้ว พบว่าแอมป์  ASL INT 50-L “จัดเต็ม” ได้อย่างสบายมาก ทั้งที่ตัวเลขเร่งโวลุ่มไม่เกิน 30 เท่านั้น จึงมั่นใจความสามารถได้อย่างเต็มที่ 6. เป็นแอมป์ที่มีบุคลิกเสียงที่อิ่มฉ่ำ พลังลึกเร้นดี ขับย่านความถี่ลำโพงออกมาครบถ้วน ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ เสียงแบบนี้ต้องบอกว่าเกินความคาดหมายของผมไปมากครับ            นับเป็นผลงานการออกแบบแอมปลิไฟร์ คลาส A ที่น่าประทับใจ          เสียงดีเยี่ยมแบบนี้ อาจจะต้องแลกกับความร้อนที่ระบายออกมาทางฮีทซิ้งค์ ที่แผ่ไปจนถึงหลังเครื่อง และหน้าปัดอีกเล็กน้อย แต่ก็เป็นเรื่องที่ปกติธรรมดาเพราะผมเล่นแอมป์หลอด และแอมป์คลาส A มาตลอดอยู่แล้ว (คือถ้าแอมป์คลาส A ไม่ร้อนนี่ต่างหากที่ผมจะงง) 7. ในแง่ของการดีไซน์ ASL INT-50Lเป็นแอมป์ที่พิถีพิถันในการออกแบบ และได้ผลลัพธ์ที่ดี นี่คืออินทิเกรเต็ดที่สามารถสนองตอบการฟังเพลงได้ทุกสไตล์โดยไม่มีข้อจำกัด ไม่ได้แค่เพียงให้รายละเอียดได้ครบถ้วน เสียงหวานละมุนเท่านั้น แต่ยังคงไว้ซึ่งพละกำลังซ่อนเร้นอยู่อย่างมากมายเหลือพอ ที่จะแสดงศักยภาพออกมาอย่างครบถ้วนเมื่อคุณได้ฟังจริง         จากเพลงพ็อพ แจ๊ส ไปจนถึงคลาสสิก วงออเคสตร้าขนาดใหญ่ ทุกสไตล์ที่คุณได้ฟังจะมาพร้อมกับความแม่นยำเที่ยงตรงของเสียงดนตรี ให้เวทีเสียงที่มีความโอ่อ่า มีความเป็นธรรมชาติสูง และเสียงดนตรีที่ไหลราบรื่นต่อเนื่องสวยงามประดุจสายน้ำ           กล่าวได้ว่าสุดปลายทางเสียงดนตรีนั้น ASL INT-50L จะช่วยให้คุณไปถึงทุกจินตนาการได้ในทุกๆ รายละเอียดอย่างแน่นอน  ASL INT-50L ราคา 97,500.- บาทต่อเครื่อง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Absolute Audio Labs คุณบอย โทร. 083-121-4445  หรือทดลองฟังได้ที่  Hifi House กรุงเทพ  คุณศราวุฒิ  091-718-8716 โทร/ไลน์  

KEF LS50 Meta และ KEF KC62 ผสานความลงตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน

KEF LS50 Meta และ KEF KC62 ผสานความลงตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน โจทย์ที่ว่า ถ้ามีลำโพงสองทางขนาดเล็กหรือขนาดกลาง แล้วต้องการอัพคุณภาพมากยิ่งขึ้น สมควรเปลี่ยนเป็นลำโพงตั้งพื้นหรือเสริมแอคทีฟซับวูฟเฟอร์?        นี่ก็คือคำตอบที่น่าสนใจ ถ้าคุณยังต้องการให้ลำโพงวางขาตั้งหลัก แบบ Bookshelf แต่เดิมนั้น คงสถานะไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง       สำหรับตัวอย่างการจัดเซ็ตครั้งนี้ ลำโพงหลักของผมคือ KEF LS50 Meta ในแง่การออกแบบจัดว่าล้ำสมัยที่สุดคู่หนึ่ง          ลำโพงรุ่น LS50 Meta ได้พัฒนามาหลายเวอร์ชั่น และล่าสุดก็คือ LS50 Meta เป็นลำโพงที่เน้นย้ำเรื่องความแม่นยำสูงและให้คุณภาพเสียงด้วยบุคลิกดึงดูดอารมณ์ ซึ่งสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีอะคูสติก ระดับ “ปฏิวัติวงการ”       ลำโพงขนาดกะทัดรัด ที่แข็งแรงทนทานรุ่นนี้ ได้รับการออกแบบโดยใช้ไดรเวอร์อาร์เรย์ Uni-Q เวอร์ชั่น 12 ที่มีเทคโนโลยีการดูดซับ Metamaterial ที่ควบคุมโครงสร้างอันซับซ้อนมากคล้ายเขาวงกตที่สามารถดูดซับเสียงที่ไม่ต้องการจากด้านหลังของไดรเวอร์ได้ 99%         เป็นเทคนิคช่วยขจัดความบิดเบือนที่เกิดขึ้นและให้เสียงที่บริสุทธิ์เป็นธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้น Uni-Q รุ่นที่ 12 พร้อม MAT ได้ทำงานร่วมกันภายใต้โครงสร้างที่ยอดเยี่ยม ในท่ามกลางความบิดเบือนที่น้อยลงที่สุดในระบบลำโพง และสนองตอบเสียงที่โปร่งใสสมจริงมากกว่าที่เคยเป็น        เท่าที่ได้ทดสอบใช้งาน จุดเด่นลำโพงคู่นี้ คือความมีพลังในการกระจายเสียงได้สม่ำเสมอทั่วทั้งห้องได้อย่างน่าทึ่ง ทั้งที่มีขนาดย่อมๆ เท่านั้น       ไดรเวอร์ Uni-Q ที่ประกอบอยู่บนพื้นผิวโค้งมนของแบบเฟิลหน้า ช่วยแผ่เสียงออกไปโดยไม่มีการรบกวนจากขอบแข็งซึ่งทำให้เกิดการ ”เลี้ยวเบน“ หรือ Diffraction ของเสียง ผลลัพธ์ที่ได้คือเสียงที่สะอาดและแม่นยำ      ไม่ใช่แค่ลำโพงที่ใช้งานได้ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังเป็นประติมากรรมที่สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับชีวิตของผู้ฟังอีกด้วย ปัจจุบัน LS50 Meta มีตัวเลือกสีให้ถึง 4 สี ได้แก่ Carbon Black, Titanium Grey, Mineral White และ Royal Blue Special Edition            LS50 Meta ได้รับการออกแบบโดย Simon Davies และ KEF Industrial Design Team ซึ่งมีแง่มุมทางด้านเทคนิคหลายอย่างที่น่าสนใจ หากมีโอกาส ผมจะนำเอาแนวคิดและวิธีการออกแบบของ Simon Davies มาให้ได้อ่านกันในเร็วๆ นี้ครับ มีผู้รักลำโพง KEF LS 50 สอบถามเข้ามาบ่อยครั้งว่า พวกเขายังคงพึงพอใจในน้ำเสียง LS50 Meta แต่หากจะขยับเป็นลำโพงตั้งพื้นของ KEF ก็ออกจะเสียดายคุณสมบัติเสียงเดิมๆ ของลำโพงคู่โปรด ที่กลางแหลม และมิดเบสสวยงามมากๆ       ทางเลือกที่ทำให้ลำโพง มีความทรงพลังโอ่อาแม่นยำและย่านความถี่ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใกล้เคียงกับลำโพงตั้งพื้น แต่ไม่อยากเปลี่ยนเป็นลำโพง Floor Standing ทำอย่างไรดี?        คำตอบที่ผมได้มาคือ ให้เสริม KEF KC 62 เข้าไป 1-2 ตู้ละก็ คุณก็จะเห็นความแตกต่างที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน    และเท่าที่ผมนำมาจัดชุดทดสอบให้ฟังใน Live เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ชมจะเห็นว่า KEF LS50 Meta และ KC62 ได้ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่รู้สึกเลยว่า Active Sub-Woofer เป็นส่วนเกินในระบบ แต่กลับเสียงดีขึ้น และความสวยงามของตัวตู้ขนาดลูกเต๋า ก็เป็นที่ติดตาต้องใจยิ่งนัก         แม้ว่าปัจจุบันจะมีการให้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวางในเรื่องของการเสริม Sub-Woofer เข้าไปในระบบ        ทุกสิ่งอย่างที่เป็นระบบเครื่องเสียงนั้น เราต้องยอมรับว่ามีหลายวิธีทางที่เราจะไปสู่จุดหมายของเราได้       ส่วนได้ ส่วนเสีย ส่วนผิด หรือส่วนถูก ขึ้นอยู่กับเรานำเอา Sub-Woofer มาใช้ด้วยเหตุผลใด และปรับให้สมดุลได้อย่างไร นั่นเอง       ซึ่งผมเคยได้อธิบายและแสดงเหตุผลเอาไว้หลายสิบประการแล้ว คงไม่จำเป็นต้องย้อนกลับมาพูดถึงอีก     ประโยชน์ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ที่ใช้ว่า ใช้เป็น หรือไม่เป็น เข้าใจอรรถประโยชน์ที่พึงได้หรือไม่เพียงไร       สำหรับ KEF LS50 Meta และ KC62 ที่ผมได้ทดลอง Matching ใช้งานด้วยกันมาแล้ว ส่วนตัวคิดว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี       เมื่อไม่อยากก้าวกระโดดขึ้นไปเล่นลำโพงตั้งพื้น อาจจะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ห้อง หรือเหตุผลอื่นๆ KEF KC62 เป็นคำตอบที่น่าสนใจจาก ซัพวูฟเฟอร์จิ๋วที่น่าอัศจรรย์ ตู้นี้       แนวทางการออกแบบซับวูฟเฟอร์ KC62 ของ KEF คือ เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้พลังเสียงเบสที่หนักแน่นสมจริงเท่าที่จะเป็นไปได้เช่นเดียวกัน         KC62 เป็นซับวูฟเฟอร์ขนาดกะทัดรัดเหลือเชื่อ สามารถมอบพลังและความมหัศจรรย์ของเสียงเบสที่ทุ้มลึกและแม่นยำ เพื่อประสบการณ์การฟังเพลง หรือชมภาพยนตร์ และเล่นเกมที่เต็มอิ่มและน่าตื่นเต้นเป็นอย่างมาก      จุดเด่นคือ KC62 มีขนาดเท่าลูกฟุตบอล สร้างขึ้นโดยใช้วิศวกรรมชั้นยอดของ KEF  ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี Uni-Core ที่ล้ำสมัย ใช้ตัวไดรเวอร์ขนาด 6.5 นิ้ว จำนวน 2 หน่วย ทำงานคล้ายลูกสูบช่วงชักยาวให้การผลักอากาศได้ปริมาณมหาศาล ใช้การขับเคลื่อนด้วยแอมปลิไฟร์กำลังขับ 1,000W RMS Class D ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อขับความถี่ต่ำ     นี่คือการจับคู่ระหว่าง ลำโพง Book Shelf ขนาดย่อม กับ Active Sub-Woofer ขนาดจิ๋ว แบรนด์เดียวกัน ซึ่งออกแบบมาบนพื้นฐานเดียวกันด้วยครับ     • ผลลัพธ์ที่ได้จากภาคปฏิบัติ KEF LS50 Meta และ KEF KC62 ทดสอบจริงในห้องฟังขนาด 3.5x4.5 เมตร       การปรับถือว่าง่ายมาก เพราะมี EQ หรืออีควอไลเซชั่นด้วย DSP อัตโนมัติถึง 5 ตำแหน่ง (Room, Wall, Corner, Cabinet, Apartment)      ให้เราเลือกโหมดไปตามจุดตำแหน่งที่วางในสภาพแวดล้อมของห้องก่อน แล้วปรับระดับความดัง ความถี่จุดตัด และเฟสตามมา        ข้อแนะนำ ควรหาจุดตั้ง KEF KC62 ในแนวระนาบเดียวกับ LS50 Meta  ซึ่งเป็นจุดดีที่สุด หรือจะเป็น เสมอด้านหน้า หรือถอยหลังลึกกว่าลำโพงหลักก็ได้     ไม่ควรให้ตู้ซับ KEF KC62 วางล้ำหน้า หรือถอยหลังมากเกินไป ควรอยู่ห่าง LS50 Meta ในระยะไม่เกิน 1 ฟุต หรือใกล้กว่า เพราะจะปรับได้กลมกลืนง่ายขึ้น       ให้ปรับค่าจุดตัดต่ำสุดของซับวูฟเฟอร์ ปรับระดับความดัง Level ทีละเล็กละน้อยแล้วค่อยๆ ขยับขึ้นมา ในจุดที่เสียงเชื่อมต่อกันราบรื่นที่สุด        สำหรับในการทดสอบของผม ที่ได้ผลดีที่สุดคือ ให้ตั้งค่าความถี่จุดตัดของ KC62  ไว้ที่ประมาณ 45Hz เพราะนั่นคือจุดที่เบสของ LS50 Meta เส้นเคิร์ฟจะเริ่มลาดลงมา       ถ้าถามว่า จุดที่ 45 Hz ของ KC62 อยู่ตรงไหน ก็ให้ดูที่ปุ่มปรับ Crossover ของ KC62 ซึ่งจะอยู่กึ่งกลางระหว่าง 40 และ 50Hz ครับ       อันที่จริงเราสามารถยกจุดตัดความถี่ให้สูงขึ้นได้ ประมาณ 100Hz แต่การทำงานร่วมกับ LS50 Meta อาจจะไม่ได้ผลดีและกลมกลืน ได้เท่ากับจุดตัด 45-50Hz นี้ วิธีฟังคือ การปรับให้เบสและเสียงต่ำต้องไม่โด่งขึ้นมากเกินจริง ยึด Tonal Balance เป็นหลัก ในการหาจุดสมดุล – ใช้วิธีปรับด้วยการหาจุด 2 จุดคือ จุดที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำชัดเจนที่สุด (อาจจะล้นๆ นิดนึงก็ได้) จากนั้นปรับให้ได้ยินเสียงซับวูฟเฟอร์เบาที่สุด หรือแทบไม่ได้ยินเลย หลังจากนั้นให้หาจุดกึ่งกลาง ระหว่างสองจุดตำแหน่งนี้  โดยอ้างอิงจากเพลงหรืออัลบั้มที่คุ้นเคยและมีย่านความถี่ค่อนข้างครบ ไม่ใช่แค่นำแผ่นหรือใช้เพลงที่เน้นเสียงกลอง หรือเสียงต่ำตูมตามมาปรับ เป็นหลักนะครับ       สรุป จุดที่ดีมากๆ ของ LS50 Meta และ KC62 คือแนวทางการออกแบบนั้นเป็นแบรนด์เดียวกัน การปรับจึงกลมกลืนกันง่าย และใช้เวลาไม่นาน คุณจะปรับเป็นลำโพงซิสเต็มเดียวกันได้อย่างลงตัว • หมายเหตุ ทั้ง KEF LS50 Meta และ KEF KC62 ควรถูกเบิร์น เกิน 80-120 ชั่วโมงแล้ว จะให้ผลอย่างเต็มที่ครับ     บทสรุป จากการใช้ KEF KC62 ร่วมกับ KEF LS50 Meta  1. ให้เวทีเสียงด้านกว้างลึกดีขึ้น 2. เครื่องดนตรีเสียงต่ำชิ้นหลัก อย่างดับเบิ้ลเบส กลอง มีมวล และพละกำลังเต็มอิ่มขึ้นอย่างน่าพึงพอใจมาก เรียกว่าสร้างความชัดเจนมีสัดส่วนของดนตรีเพิ่มขึ้น 3. น้ำหนักเสียงของชิ้นดนตรี มีมิติเป็นชิ้นเป็นอัน ให้สเกลเสียงสมจริง 4. มีผลด้านเสียงร้องที่อิ่มลึกขึ้น เสียงลงลำคอจะดูเป็นจริงมากกว่าเดิม 5. อิมเมจ จุดตำแหน่งเสียง ให้ความมีสัดส่วน ทรวดทรงดนตรี ทำได้ดีขึ้นกว่าเดิม 6. ช่วยให้เสียงต่ำทอดยาว มีน้ำหนัก มีผลดีกับเพลงแจ๊ส ร็อค และคลาสสิก จำพวกวงออเคสตร้า 7. มวลรวมของการฟังดนตรีที่มีจำนวนชิ้นมากๆ อย่างเพลงจากวงออเคสตร้า มีไดเมนชั่นเสมือนเสียงสามมิติเพิ่มขึ้น รูปวงขยายเต็มอัตราส่วน      นี่คือการรวมระบบลำโพง KEF LS50 Meta และ KEF KC62 ที่เสมือนหยิบลำโพงทรงลูกเต๋ามาผสมผสานกัน ทั้งลำโพงหลักและซับวูฟเฟอร์ ด้วยการส่งพลังเสียงโดดเด่น โอ่อ่าเทียบเคียงลำโพงตั้งพื้นระดับแสนได้อย่างสบายๆ และอาจจะมีข้อดีกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ ไม่เปลืองพื้นที่ห้องฟัง นั่นเอง KEF LS50 Meta ราคาคู่ละ 49,900.- บาท KEF KC62 ราคาตู้ละ 69,900.- บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ทดลองฟังได้ที่ ร้านจำหน่ายเครื่องเสียงชั้นนำทั่วไป  หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: บริษัท วีแกดซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เลขที่ 9/7 ซ. รัชดาภิเษก 18 ถ. รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทร 02-692-5216 https://www.vgadz.com/kef/ https://www.facebook.com/KEFaudiothailand  

AURENDER A1000 สตรีมเมอร์ไฮเอนด์ สุดคุ้มค่า

AURENDER A1000 สตรีมเมอร์ไฮเอนด์ สุดคุ้มค่า          การเล่นเครื่องเสียงมีการพัฒนามาอย่างยาวนานนับศตวรรษ รูปแบบแหล่งโปรแกรมเปลี่ยนจากอนาล็อกมาถึงดิจิตอลออดิโอ บนเส้นทางของสตรีมมิ่ง หรือการฟังเพลงผ่านอินเตอร์เน็ต ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว           เราจะเห็นสตรีมเมอร์รุ่นใหม่ๆ ถือกำเนิดขึ้นมาสนองตอบนักเล่น นับแต่ขั้นเริ่มต้น จนถึงไฮเอนด์นับพันๆ รุ่น            เปลี่ยนวิธีการทางคอมพิวเตอร์ด้วยการดาวน์โหลด มาเป็นสตรีม ที่ผมอยากพูดง่ายๆ ว่า เหมือนการ Live หรือถ่ายทอดสดจากผู้ให้บริการที่อัพโหลดแล้วส่งมายังเครื่องของเรานั่นเอง            อุปกรณ์หลักที่สามารถทำงานร่วมกันและยึดโยงเป็นเครือข่ายได้คือ คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน เครื่องเล่นสตรีมเมอร์ทั้งหลาย กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน            คิดว่าในยุคนี้ สตรีมมิ่งคือธงนำ นักเล่นเครื่องเสียงที่ต้องการคุณภาพเพลงที่ดี และมีความสะดวกสบายในการฟังเพลงในบ้านอย่างแท้จริง ระบบ-วิธีการเล่น ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก             จะเปรียบเสมือนว่า สตรีมเมอร์คือ เครื่องเล่นเพลงที่มีระบบปฏิบัติการ เพื่อฟังเพลงโดยเฉพาะ ที่อาจจะแยกวิธีใช้งานอย่างง่ายที่สุดด้วยระบบไร้สาย Bluetooth Wi-Fi หรือระบบสาย ด้วยอีเธอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยสาย LAN             ความเสถียร และอัตราความเร็วของอินเตอร์เน็ต รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อจะมีผลต่อ คุณภาพเพลง ที่เราจะได้ฟังด้วย             สำหรับผมได้ฟังเพลงสตรีมมิ่งมาหลายปี ทดลองตั้งแต่เครื่องราคาพื้นฐานมาจนถึงแยกชิ้น และที่ยังไม่ลงมือลงไปเล่นแบบจริงจัง ก็เพราะในช่วงก่อนหน้านี้ ผมยังไม่ค่อยปลื้มกับคุณภาพ ทั้งต้นทาง  กลางทาง และปลายทาง              ต้นทางคือคุณภาพไฟล์ ที่ได้จากผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง ระยะแรก เสียงยังเทียบเคียงแผ่นซีดี ยังไม่ได้  สอง กลางทาง หมายถึงระบบจัดส่งสัญญาณทางอินเตอร์เน็ต ยังไม่เร็วพอ ไม่เสถียรพอ และสาม ปลายทาง คือเครื่องสตรีมเมอร์ และระบบปฏิบัติการยังไม่มีคุณภาพพอเพียง            กลับกันในปัจจุบัน มันเป็นคนละเรื่องกันเลย ผู้ให้บริการเริ่มมีการส่งไฟล์ ระดับไฮเรส ที่ดีกว่าการฟังแผ่น CD  อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และส่งข้อมูลได้แม่นยำ เครื่องเล่นสตรีมเมอร์ไฮเอนด์ ก็พัฒนากันแบบสุดโต่งไปเลย             โดยเฉพาะเครื่องเล่นสตรีมเมอร์ที่มีระบบสตรีม มีภาค DAC และภาคปรีในตัว พร้อมที่จะนำไปเชื่อมต่อกับภาคขยาย อย่าง AURENDER A1000 นี้ คือคำตอบของทุกๆ เหตุผล ถ้าคุณจะหันมาเล่นเพลงสตรีมมิ่งอย่างสมบูรณ์แบบ            หากย้อนหลังกลับไป น้อยคนจะทราบว่า ผู้ที่คิดค้นเครื่องเล่นสตรีมเมอร์เครื่องแรกขึ้นมาในโลก บริษัทนั้นก็คือ AURENDER จากประเทศเกาหลี เมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว‼️             พัฒนาการของ AURENDER จึงถือว่าก้าวหน้ารวดเร็วกว่าใคร โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องเล่นสตรีมเมอร์ไฮเอนด์ ถือว่ายืนอยู่แถวหน้าเลยด้วยซ้ำ            การเป็นผู้ริเริ่มก่อน พัฒนาก่อน คือข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดเจน             แม้ผมจะไม่ใช่ขาหลักด้านสตรีมเมอร์ เพราะชีวิตทุ่มเทให้กับการเล่นแผ่นเสียงแบบอนาล็อกมากกว่า           อีกทั้งมีผู้เชี่ยวชาญ ด้านสตรีมมิ่ง ที่เขาลงไปปักหลักลงลึกมายาวนาน อาจจะอธิบายเทคนิคลงไปในดีเทลได้ละเอียดยิ่งกว่าผมด้วยซ้ำ             แต่ผมก็จะพูดถึงในฐานะ “คนเล่นเครื่องเสียง” ที่เล่นทุกระบบซึ่งให้คุณประโยชน์ต่อการฟังเพลง ว่าหากเปิดใจให้ระบบสตรีมมิ่ง เครื่อง AURENDER A1000 น่าจะเป็นเครื่องสตรีมเมอร์ ที่ใจของนักเล่นอย่างเรา ยอมรับได้อย่างไร้ข้อกังขาครับ           AURENDER A1000 สำหรับผมก็เปรียบเสมือนเครื่องเล่น SACD ผสมดิจิตอลจูนเนอร์ ที่มีภาค DAC ในตัว ต่อเข้ากับแอมป์ เซ็ตอัพนิดหน่อย เล่นเพลงได้ทันที ไม่ต้องมีภาระเก็บแผ่นเพลงที่ชอบเป็นพันๆ แผ่น เช่นปัจจุบันอยากฟังเพลงก็แค่เป็นสมาชิกผู้ให้บริการ และเพลงมีให้เลือกเป็นล้านอัลบั้ม‼️          หรือจะเลือกบริการฟังเพลงและข่าวสารฟรีจากวิทยุอินเตอร์เน็ตบนโลกใบนี้ AURENDER A1000 มีให้คุณเลือกฟังเป็นหมื่นสถานี  โดยเฉพาะสถานีเพลงที่ให้คุณภาพเสียงกันในระดับออดิโอไฟล์          AURENDER A1000 มีจุดเด่นที่นอกเหนือจากโครงสร้าง รูปทรงจะงดงามแข็งแกร่ง มีหน้าจอ IPS LCD 6.9" ขนาดใหญ่ โชว์ข้อมูลและหน้าปกอัลบั้มเพลงที่กำลังเล่นอยู่ ภายในยังออกแบบระบบวงจรอย่างเป็นเลิศด้วย   มีภาคชิปแด็ค AKM4490REQ ทำงานในแบบ Dual Mono โดยใช้ชิป 2 ตัวแยกกันทำงานอิสระ ตัวละ Channel ไปเลย          ให้การรองรับ Tidal, Tidal Connect, Qobuz, Spotify Connect, AirPlay และยังมี Bluetooth AptX-HD และ Google Cast Audio         รองรับไฟล์เพลงได้ในระดับ  32-bit 768 kHz และ DSD512          ที่ผมคิดว่าเป็นหัวใจสำคัญเลย คือภาคจ่ายไฟภายในที่ใช้ 5 ชุดแยกอิสระ สำหรับภาคดิจิตอลและภาคอนาล็อก รวมไปถึง Clock และ FPGA           มี Digital output และ Digital input ครบทุกรูปแบบ สะดวกอย่างยิ่งในการต่อใช้งานร่วมกับเครื่องอื่นและการขยายการทำงานในอนาคต         มี HDMI ARC Input, Bluetooth AptX-HD, Google Cast Audio สะดวกอย่างยิ่งในการต่อใช้งานกับ Device ต่างๆ         มีสล็อตสำหรับติดตั้ง SSD เพิ่มเติม หากต้องการสตรีมไฟล์ไฮเรสจากในเครื่องโดยตรง            สรุปก็คือ AURENDER A1000 มีความสามารถหลากหลาย สามารถใช้งานเป็นสตรีมเมอร์, Digital Transport, D/A Converter และเป็น Preamplifier ในตัว              หากเรามาวิเคราะห์เจาะลึกลงไปจากด้านหน้าที่เรียบง่าย มีปุ่มเลือกกด Power และซีเลคเตอร์ ไม่กี่ปุ่มไปจรดด้านหลังที่มีอินพุต เอาต์พุตครบครัน    • หากเปิดหลังเครื่องเข้าไปดูภายใน เราจะเห็นแผงวงจรของภาคจ่ายไฟขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของตัวเครื่องเลยทีเดียว มีหม้อแปลงลูกใหญ่ 1 ชุด ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับดิจิตอลบอร์ด และหม้อแปลงลูกเล็ก อีก 2 ชุด ที่จะมีภาคจ่ายไฟแบบเรกกูเรตย่อยๆ ออกไปอีก 6 ชุด เพื่อจ่ายไฟให้กับภาคดิจิตอล และ D/A Converter             สำหรับภาคจ่ายไฟทั้งหมดเป็นรูปแบบ “เรกกูเรต” ซึ่งมีใช้ในเฉพาะสำหรับเครื่องไฮเอนด์เท่านั้น เครื่องสตรีมเมอร์ทั่วๆ ไปยากจะฝันถึง           แผงวงจรภายใน AURENDER A1000 จะประกอบไปด้วยแผงวงจรหลัก 3 แผง ภาคจ่ายไฟ 1 แผง ดิจิตอลเมนบอร์ดที่ติดตั้ง CPU อีก 1 แผง และภาคดิจิตอลออดิโอกับภาคแปลงรหัส  D/A Converter อีก 1 แผง             น่าทึ่งตรงที่ ตามปกติเครื่องเล่นสตรีมเมอร์ชั้นดีทั่วไป มักไม่ได้ทำการแยกแผงเมนบอร์ด และดิจิตอลออดิโอออกจากกัน ก็เพื่อประหยัดต้นทุนและความรวดเร็วในการผลิต            แต่ AURENDER ให้ความพิถีพิถันกับเรื่องเหล่านี้มาก ด้วยการแยกบอร์ดทั้งสองออกจากกัน จะทำให้สามารถลดสัญญาณรบกวนจากดิจิตอลบอร์ดไปยังอนาล็อกบอร์ดลงได้อย่างมาก เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีและถ่ายทอดทุกไฟล์เสียงอย่างหมดจดจริงๆ        รายละเอียดทางด้านการออกแบบ ท่านผู้อ่านสามารถติดตามได้จากเพจ DISCOVERY HIFI เพิ่มเติมได้เลยครับ https://www.facebook.com/people/DISCOVERY-HIFI/61557919654271/     • การทดสอบใช้งาน เพื่อความสะดวกในการคอนโทรลระบบสตรีมมิ่ง ต้องโหลดแอพพลิเคชั่น Conductor ของ AURENDER ในแอพสโตร์ มาใช้งานนะครับ กรณีของผมใช้กับ iPhone 15 ProMax และ MC Book Pro บางท่านอาจจะใช้เป็นแท็บเล็ตก็ขึ้นกับความสะดวกของแต่ละท่าน             ในระยะเวลาสองสัปดาห์แรกที่ผ่านมา ผมมีโอกาสคลุกคลีใช้งานเครื่อง AURENDER A1000 อย่างจริงจังในฐานะนักเล่นเครื่องเสียงที่ปรารถนาคุณภาพเสียงดนตรีที่ดีงามอย่างหลายหลาก และต้องการความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน           การต่อใช้งาน ผมใช้สาย LAN เป็นตัวเชื่อมต่อรับสัญญาณจากเราเตอร์ ตรงมายัง A1000 ซึ่งเป็นสายธรรมดาตามมาตรฐาน (แพคเกจอินเตอร์เน็ตที่ใช้คือ 1000/700) ผมฟังเพลงสตรีม จากAURENDER A1000 มาได้สัก 3-4 วัน โดยต่อสายแลนจากเราเตอร์โดยตรงไม่ได้ผ่านอุปกรณ์อื่นใด ผมว่าปกติ AURENDER A1000 ให้คุณภาพ รายละเอียด ที่ดีเยี่ยมน่าพอใจจากเพลงของผู้ให้บริการ Streaming หลายเจ้าที่ผมเป็นสมาชิกอยู่แล้วละครับ             แต่เมื่อ คุณกิตติคุณ DISCOVERY HIFI ได้ส่งเน็ตเวิร์คสวิตช์ Ediscreation SILENT SWITCH OCXO มาให้พร้อมกับสาย LAN เกรดสูง Viard Audio มาให้ พอนำมาต่อคั่นใช้งาน ผมมีความรู้สึกเหมือนโลกแห่งเสียงดนตรี เปลี่ยนไปอีกหนึ่งสเต็ปทันที           ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งอยู่ไม่น้อย เสียงที่ดูเรียบสะอาดมากๆ ให้ความอิ่มฉ่ำ อบอุ่นขึ้น รายละเอียดเสียงดีขึ้น เพลงที่มาจาก TIDAL แนวเพลงที่ชอบเหมือนถูกยกระดับไปอีกขั้นหนึ่งเลย และเมื่อฟังเพลงจากวิทยุอินเตอร์เน็ตของ BBC ประเทศอังกฤษ เสียงช่วงปลายดูเนียน เสียงสนทนาของผู้จัดทำรายการ หลุดลอยออกมาเหมือนไปนั่งฟังเขาพูดต่อหน้า             เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที เสมือนหนึ่งว่า Noise ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ระบบการเล่นเพลง Streaming นั้น ถูกคัดกรองสัญญาณรบกวนออกไป ให้เราฟังเสียงที่สะอาดกว่า           เป็นบทเรียนอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าการเล่นเพลงทุกระบบ ไม่ว่าจะอนาล็อก หรือดิจิตอล จะต้องเอาใจใส่เกี่ยวกับเรื่องของสัญญาณรบกวนมาก-น้อยเพียงใด         พูดให้ชัดคือ ตอนนี้ผมฟังเพลงโดยไม่ผ่าน Network Switch ไม่ได้แล้วละครับ            AURENDER  A1000 เป็นอะไรที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนครับ หลังจากต่อสาย LAN กดเปิดเครื่อง ระบบจะรันกับอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้งานโดยแสดงเลขไอพี ของอินเตอร์เน็ต กรณีที่ต่อคร้้งแรก หากยังเชื่อมต่อไม่ได้ หรือค้นหาไม่พบ ก็แค่ปิดเราเตอร์ของเรา แล้วเปิดใหม่อีกครั้ง จากนั้นก็จะใช้งานได้ทันที           บางกรณีถ้าเปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว มีการอัพเดท จะต้องปล่อยให้เครื่องอัพเดทให้เสร็จเรียบร้อยก่อนทุกครั้ง ที่คุณจะคอนโทรลหรือใช้งานเครื่อง          บางกรณี หลังจากอัพเดท เครื่องอาจจะสุ่มไอพีขึ้นมาใหม่ ตรงนี้เราก็ใช้สมาร์ทโฟนปรับไอพีให้ตรงกัน จากนั้นระบบก็จะเข้าสู่โหมดการทำงานปกติได้เลย       บทสรุปคุณภาพเสียงของ AURENDER  A1000 1. ความสะอาดของเสียง นับว่ามีความเป็นเอกลักษณ์จริงๆ เป็นเสียงที่ Clean มากกว่าที่เคยได้ฟังจากสตรีมเมอร์ DAC อื่นๆ อย่างชัดแจ้ง 2. ในเรื่องสำคัญคือ ดีเทล หรือรายละเอียด เป็นความแตกต่างที่เราพบได้ว่า AURENDER A1000 ให้รายละเอียดดีมาก เก็บทุกเม็ดเสียงกับเพลงระดับออดิโอไฟล์ แม้จะมีบิตเรตพื้นฐานแค่ 16 บิต /44.1 KHz ก็ตาม และไฟล์เสียงที่เสียงละเอียดยิบขนาด MAX หรือ 24 บิต/44.1 และ 24 บิต 192 KHz ไปจนถึง MQA 16 บิต 352.8 KHz ก็ยิ่งเข้าถึงรายละเอียดมากขึ้นอย่างน่าทึ่ง เป็นประสบการณ์ที่เราจะต้องยอมรับว่า วิถีของ Hi-Res ในสตรีมมิ่งนั้น เข้าถึงทุกรายละเอียดอย่างสมบูรณ์จริงๆ ที่สำคัญภาค DAC ที่ถอดรหัสฉับไว สะอาด คืออีกหนึ่งหัวใจของเครื่องโดยแท้จริง 3. AURENDER A1000 ให้ความรู้สึกที่เข้าถึงง่าย ใช้งานง่ายดุจพลิกฝ่ามือ และใกล้ชิดในทุกเสียงแผ่วเบาของดนตรี นับว่าให้อารมณ์การรับฟังที่อิ่มเอมมาก โดยเฉพาะเพลงคลาสสิกคัล ที่ขยายขอบเขตการฟัง และ Dynamic Range ที่ยอดเยี่ยมมากขึ้นกว่าธรรมดา 4. เพลงจากค่าย Telarc หลายอัลบั้ม อาจจะเป็นเพลงที่ใช้ทดสอบระบบเสียงซิสเต็มของคุณได้ สามารถเล่นจาก AURENDER A1000 ได้ค่าไดนามิคคอนทราสต์ หรือไดนามิคเร้นจ์ อย่างสมบูรณ์ดีมาก  5. ฟังอินเตอร์เน็ตเรดิโอ ได้นับหมื่นสถานี เรียกว่ามากมายไม่จบสิ้น ให้ความสะดวกยอดเยี่ยม โดย AURENDER A1000 สามารถไล่เรียงตั้งแต่สถานีเพลงในประเทศไทย และครอบคลุมไปทั่วโลก และผมก็มักจะพักใจเอาไว้ที่สถานีวิทยุของ BBC สหราชอาณาจักร ทั้งเพลง ข่าวสาร บางวันอาจจะเพลิดเพลินเพลงคลาสสิกกับสถานี Linn เป็นต้น บางสถานีให้คุณภาพเสียงยอดเยี่ยมใกล้เคียงแผ่น SACD เลยด้วยซ้ำครับ 6. AURENDER A1000 ให้ความไพเราะ ความกังวานหวานใส ความละเมียดละไมอิ่มอุ่นของดนตรีหลายประเภท โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ โดยเฉพาะผมฟังเสียงบรรเลง เปียโน ของ Alice Sara Ott แล้ว อัศจรรย์ใจในการเก็บทุกรายละเอียด และฮาร์โมนิคครบถ้วนจริงๆ 7. เพลงไทยที่มีในผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง ดูเหมือนทาง Spotify จะมีให้เลือกฟังได้มากกว่า ความ สมบูรณ์ของ AURENDER A1000 ช่วยให้เราได้รับรายละเอียดของชิ้นดนตรีมากที่สุดเท่าที่สตูดิโอได้บันทึกมา 8. ชอบการแสดงผลหน้าจอของ AURENDER A1000 ที่มีขนาดใหญ่พอดิบพอดี แจ้งรายะเอียดเพลง ขนาดไฟล์เพลง บริการสตรีมมิ่ง ครบถ้วน รวมทั้งสถานีอินเตอร์เน็ตเรดิโอ   9. วันเวลาที่ใช้งาน AURENDER A1000 เหมือนกับย่อยดนตรีทั้งโลกมาอยู่ที่ปลายนิ้ว จะบันทึกไว้ใน Library สำหรับเลือกฟังทุกครั้งที่ต้องการ สร้าง Queue คิวเพลงได้ถึง 2,000 คิว สร้างรายการเพลงไว้เป็น Playlist (เพลย์ลิสต์) ตามใจชอบได้ 10. บทสรุป AURENDER A1000 คือสตรีมเมอร์ที่ผสานภาคแปลงรหัสดิจิตอลเป็นอนาล็อก หรือDAC และปรีแอมป์ ที่สมบูรณ์แบบก้าวหน้าที่สุดเครื่องหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่ง AURENDER มีความตั้งใจอย่างมากในการทุ่มเทการออกแบบ A1000 เพื่อสนองต่อนักฟังเพลงในระดับออดิโอไฟล์ ที่มีความต้องการความสมบูรณ์ครบถ้วน เท่าที่เทคโนโลยีล้ำยุคจะอำนวยให้ได้   • ข้อแนะนำนะครับ สำหรับผู้ที่ตั้งงบประมาณเอาไว้สำหรับสตรีมเมอร์หนึ่งเครื่องในระดับราคาไม่เกิน 200,000.- - 300,000.- บาท ตอนนี้คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องลงงบขนาดนั้นก็ได้       • หรือบางท่านตั้งงบไว้ใกล้เคียง 100,000.- บาท ก็ขอให้ขยับดึงงบประมาณของท่านขึ้นไปอีกสักเล็กน้อย แล้วพิเคราะห์ AURENDER A1000 ให้ดีๆ ครับ เพราะเป็นเครื่องที่ให้ความคุ้มค่าในแบบไฮเอนด์ ที่เล่นแล้วไม่อยากขยับไปไหนอีกเลย         ถ้าจะมีบทสรุปสั้นที่สุด ผมคงกล่าวคำจำกัดความว่า “AURENDER A1000 สตรีมเมอร์ไฮเอนด์ สุดคุ้มค่า” โดยไม่ต้องขยายความอะไรเพิ่มเติมอีกเลย • ราคาพิเศษสุดสำหรับช่วงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถซื้อได้ในราคาเพียง เครื่องละ 109,000.- บาทเท่านั้น จากราคาปกติเครื่องละ 129,000- บาท   สนใจสอบถามรายละเอียดและโปรโมชั่นได้ที่ DISCOVERY HIFI  โทร. 085 517 8292 • หมายเหตุ ชุดซิสเต็ม Reference - Hattor Audio Ultimate Passive Pre - Hattor Audio Ultimate Mono Power Amp 400Watts - Harbeth Monitor 30.2 Anniversary Speaker

Tech talk
The Light of Audiophile ตอนที่ 5 หลักพิจารณาการเล่นเครื่องเสียงสเตอริโอแบบเสริมความถี่ต่ำ

The Light of Audiophile ตอนที่ 5 หลักพิจารณาการเล่นเครื่องเสียงสเตอริโอแบบเสริมความถี่ต่ำ           ก็คงยังเป็นข้อถกเถียงอยู่หลายหลากมุมมองในประสบการณ์ของนักเล่นเครื่องเสียงระดับออดิโอไฟล์ว่า ระบบสเตอริโอโฟนิค ที่ดีไซน์ระบบให้มีลำโพงสองคู่ซ้ายขวานั้นพอเพียงสำหรับการฟังหรือไม่ และที่มีการเสริมลำโพงตู้ Sub-Woofer มันจำเป็นจริงหรือเปล่า        - ทำให้ดีขึ้น? หรือทำให้แย่ลง?      บทความจากประสบการณ์ล้วนๆ ของผมชิ้นนี้ ไม่มีเจตนาแบบ “เห็นด้วยอย่างมาก” หรือ “ไม่เห็นด้วยอย่างมาก” ทั้งสองแนวความคิดนะครับ      หากท่านได้ติดตามงานเขียนบทความเครื่องเสียงของผมมายาวนานพอสมควรแล้ว ก็จะทราบว่า ผมยึดทางสายกลางเหมือนในแนวคิดทางพุทธศาสนาคือ มัชฌิมาปฏิปทา เมื่อเรามาแยกแยะ รายละเอียดเหตุผลกัน จะเห็นได้ทั้งจุดเริ่มต้น และจุดหมายปลายทางได้ว่า จะเดินทางสายใด ในความคิดส่วนตัวของผมก็คือ ระบบเครื่องเสียงที่ดี ควรสนองตอบความถี่จากเสียงดนตรีให้ครบถ้วน “เท่าที่จะเป็นไปได้” คือความหมายของ High Fidelity ในความเป็นจริง ถ้ายึดเอามาตรฐานการแสดงสด จากวงออเคสตร้า ที่มีความถี่เสียง น้ำหนักเสียง ความเข้มของเสียง ไดนามิคเร้นจ์ การตอบสนองความถี่ เวทีเสียง อิมเมจจุดตำแหน่งเสียงของชิ้นดนตรีเหล่านี้           จากขั้นตอน Recording ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบส่วนแรก คือ Sound Engineer ในห้องบันทึกเสียงที่เขาต้องพยายามทำให้ขั้นตอนของการบันทึกเสียงนั้น ต้องเก็บทุกรายละเอียดมาให้ได้สมบูรณ์แบบที่สุด ในขั้นตอน Playback เมื่อเรานำเพลงที่บันทึกมาจากสตูดิโอมาฟังกับเครื่องเสียงภายในบ้าน  จะต้องคิดคำนึงก่อนว่า Scale เสกลเสียงที่ถูกย่อส่วนลงมานั้น มี “อัตราสัดส่วนสมจริง”  การตอบสนองความถี่ แหลม กลาง ทุ้ม จะต้องย่อลงมาแบบมีอัตราส่วนที่ “สอดคล้องความเป็นจริง” เพราะไม่มีเครื่องเสียงชุดไหนที่สามารถให้ย่านความถี่ รายละเอียดเสียง เวทีเสียง ความเป็นชิ้นดนตรีต่างๆ เหมือนการแสดงสด เหมือนดนตรีคอนเสิร์ตได้ด้วยลำโพงเพียงคู่เดียว! คิดง่ายๆ ถ้าเวทีแสดงดนตรีกว้าง 15 เมตร ลึก 7 เมตร ถามว่า มีชุดลำโพงชุดใดในระบบโฮมยูส เสนอเวทีเสียงได้กว้างถึง 15 เมตรลึก 7 เมตร บ้าง?  ดังนั้น เราจึงต้องคิดถึงสเกล สัดส่วนดนตรีที่ย่อลงมาฟังในห้อง ที่ลำโพงของเรา วางห่างกันประมาณ 2-3 เมตร โดยทั่วไป มันน่าจะอยู่ที่ประมาณไหน ซึ่งอาจจะแค่ 1/3  หรือ 1/5 ของการย่อส่วนลงมาในห้องฟัง ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว ถ้าเข้าใจตรง Scale สัดส่วนดนตรีตรงนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจว่า เครื่องเสียงที่เราฟังทุกวันนี้ก็คือการ ”ย่อส่วน“ ดนตรีจริงมาฟังในบ้านนั่นเอง ถ้าเรายึดเรื่องสเกลของเสียงเป็นหลัก เราก็คงจะพอทราบว่าชิ้นดนตรีต่างๆ นั้น ควรจะมีปริมาณของเสียงขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นแหลม กลาง ทุ้ม เช่นเสียงของไวโอลิน เสียงของเปียโน เสียงของดับเบิ้ลเบส เสียงของทิมปานี เมื่อถูกย่อส่วนมาในบ้านแล้ว สเกลและสัดส่วนมันมีบาลานซ์ หรือความพอดีอยู่ที่ตรงไหน ถ้าเสียงชิ้นดนตรี ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผิดสเกลสัดส่วนน้อยไปหรือมากไป ก็ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดีทั้งสิ้น          อย่างเช่นลำโพงวางบนขาตั้งคู่หนึ่งให้เสียงกลางแหลมได้ดี แต่เสียงต่ำด้านลึกของชิ้นดนตรีนั้นขาดหายไปตรงนี้ ถ้าเราจะทำให้สมจริงตามสเกลสัดส่วนมากขึ้นก็คือเล่นลำโพงที่ใหญ่ขึ้น เป็นระบบตั้งพื้น หรือรุ่น Top ที่การออกแบบนั้น สามารถผลักดันสเกลของดนตรีให้ได้สมบูรณ์แบบ       หรืออีกวิธีการหนึ่งก็คือการเสริม Sub-Woofer ลงไปในระบบ ในฐานะคนฟัง ถ้าทุกอย่างรู้สึกได้ว่าสเกลเสียงดนตรี มันพอดี สมส่วนอยู่แล้ว คุณจะเปลี่ยนลำโพงใหญ่ขึ้นหรือคุณจะเสริม Sub-Woofer ลงไปเพื่อให้มีเสียงต่ำมากขึ้นเพื่อสิ่งใด? เพราะมันจะทำให้สเกลสัดส่วนต่างๆ ของดนตรีก็ผิดไปหมด ตามหลักการที่ถูกต้องอะไรที่มันพอดีอยู่แล้วก็ควรพอเพียงอยู่ตรงนั้น  แต่ถ้ารู้สึกว่ามันขาด ก็เพิ่มเข้าไป หรือถ้าเกิน ก็ลดมันลงมา นี่ก็เป็นหลักการธรรมชาติพื้นๆ โดยทั่วไปอยู่แล้วนะครับ ผมจึงไม่ได้ปฏิเสธหลักการใดๆ ทั้งสิ้นในการเล่นเครื่องเสียง และถ้าเราจะเสริมอะไร ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระบบอย่างใด เราควรรู้การตอบสนองความถี่ของชิ้นดนตรีด้วย           สมมุติว่า ตอนนี้ความถี่ต่ำในซิสเต็ม ของเราน้อยไป ทำให้อาจจะขาดเสียงของเครื่องดนตรีบางอย่างได้ เรามาดูกันว่า ถ้าจะเสริม Active Sub-Woofer ชุดเครื่องเสียงเราจะครอบคลุมชิ้นดนตรีใดบ้าง?          จากประสบการณ์ ในการทำระบบ Professional และ Home Use ความถี่ต่ำที่มีจุดตัดตั้งแต่ 250Hz ลงไปจนถึง 20Hz หรือต่ำกว่า ผมถือว่าเป็นย่านความถี่ครอบคลุมการทำงานของSub-Woofer            ยกตัวอย่างชิ้นดนตรีที่เกี่ยวข้อง กับความถี่ต่ำที่สำคัญช่วงนี้คือ - ออร์แกนท่อ / คีย์บอร์ด / ซินธีไซเซอร์ สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 20Hz - เปียโน สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 25Hz  - ทูบา / ฮาร์พ สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 30Hz - ดับเบิ้ลเบส สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 30Hz - ฮาร์ปซิคอร์ด สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 40Hz - เบสกีต้าร์ สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 40Hz - อคูสติค อิเลคทริกกีต้าร์ สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 80Hz - เฟรนซ์ฮอร์น / ทรอมโบน / บาสซูน สนองความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 60Hz - เทนเนอร์แซ็กซ์ สนองความถี่ช่วงต่ำลึกถึง 120Hz         แม้แต่เสียงร้องของศิลปินนักร้องชายก็สนองตอบความถี่ช่วงต่ำลึกได้ถึง 100Hz  ดังนั้น เราก็คงต้องมาวิเคราะห์ สิ่งที่เราได้ยินจากระบบลำโพง-เครื่องเสียงของเราว่า มันสนองความถี่ต่ำได้พอเพียงจริงไหม ถ้ารู้สึกว่า พอแล้ว ลำโพงสตูดิโอคู่เดียวก็ถือว่าจบ  แต่ถ้าไม่… ตรงนี้ ก็ตัดสินใจว่า จะเพิ่ม Active Sub-Woofer หรือไม่ แล้วแต่ความรู้สึกของเราจะกำหนดลงไปครับ ถ้าสมมุติว่า ต้องเพิ่มความถี่ต่ำด้วย Active Sub-Woofer ซึ่งมันจะมีหลักต้องพิเคราะห์ อีกพอสมควร ผทจะมานำเสนอกันต่อในตอนถัดไป ใน The Light of Audiophile ตอนที่ 6 ครับ  

The Light of Audiophile ตอนที่ 4 บทวิพากย์ วิธีการเล่นเครื่องเสียงหลากรูปแบบ

The Light of Audiophile ตอนที่ 4 บทวิพากย์ วิธีการเล่นเครื่องเสียงหลากรูปแบบ             ขออนุญาตตอกย้ำอีกครั้งในบทความชุดนี้นะครับ ว่าเป็นเรื่องของประสบการณ์ ความเห็นต่างๆ มีความผิด-ถูก มากน้อย จะมีความตรงต้องกับหลักวิชาการ หรือไม่ มาก-น้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทุกท่าน เพราะคือนี่คือประสบการณ์ของผมเท่านั้น            จากนี้ไปจะบอกเล่า ถึงประสบการณ์การเล่นเครื่องเสียงรูปแบบหลากหลายที่ได้รับประสบการณ์มาตลอดช่วงชีวิตของการเล่นเครื่องเสียงครับ ดังที่กล่าวในบทที่ผ่านมา การเล่นเครื่องเสียง โดยสรุปมี 1. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว หรือถ้านับการเชื่อมต่อสายลำโพงจะถือเป็น Single-Wire 2. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน การเชื่อมต่อสายลำโพงจะเป็น Bi-Wire 3. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน การเชื่อมต่อสายลำโพง และแอมป์จะแยกอิสระ เป็น Bi-Amplifications หรือ Tri-Amplifications  4. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน แบบเพิ่ม Super-Tweeter เพิ่ม Active Sub-Woofer           ในแต่ละรูปแบบหากกล่าวจากประสบการณ์จริงๆ โดยสรุป ไม่มีแบบใดดีที่สุด หรือแย่ที่สุด เป็นเพียงวิถีทางหรือกรรมวิธีการเข้าถึงคุณภาพ และศักยภาพของเสียง ตามความตั้งใจของผู้เล่นเครื่องเสียงเป็นหลัก 1. ระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว แบบ Single-Wire มีข้อดีคือปราศจากความซับซ้อนใดๆ มีแหล่งโปรแกรมและแอมปลิไฟร์หนึ่งเครื่อง ลำโพงหนึ่งคู่ทุก อย่างเริ่มต้นและจบลงได้อย่างง่ายดาย         โอกาสที่จะได้รับความผิดเพี้ยนจากการเชื่อมต่อระบบที่ซับซ้อนแทบไม่มี ซึ่งหากเลือกชุดเครื่องเสียงที่ดีและแมตชิ่งก็จะได้คุณภาพที่ดีมากเช่นกัน          จุดอ่อนอาจจะไปอยู่ที่การปรับปรุงหรือการยกระดับนั้น อาจจะต้องลงทุนแบบยกอุปกรณ์ใหม่ไปเลย หมายถึงต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นชิ้นๆ ไป และอาจจะไม่ใช่ชิ้นเดียวด้วย            ยกตัวอย่างเมื่อเล่นไประยะหนึ่ง แล้วต้องการเสียงที่มีรายละเอียดและพลังมากยิ่งขึ้น ต้องเปลี่ยนลำโพง รุ่นใหญ่กว่าเดิม ก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแอมป์รุ่นใหญ่ไปด้วย มิฉนั้นจะไม่สมดุลซึ่งกันและกัน         ดังนั้น การเริ่มต้นเล่นแบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว แบบ Single-Wire สมควรต้อง “เผื่อแอมป์” หรือ “เผื่อลำโพง” ให้เป็นรุ่นที่สูงกว่าปกติ อย่างใดอย่างหนึ่งถ้าทำได้           เพราะเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณมากเกินจำเป็น หรือเกิดความยุ่งยากกว่า เปลี่ยนชิ้นหนึ่ง แล้วจะต้องเปลี่ยนอะไรตามมาอีก            2. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน ด้วยการเชื่อมต่อสายลำโพงเป็น Bi-Wire ในประสบการณ์ส่วนตัวผม ยอมรับว่าไม่ค่อยแนะนำวิธีการนี้ เพราะที่ผ่านมา ลำโพงแบบ ไบร์-ไวร์ หลายคู่ก็มักจะมีปัญหาอาการผิดเฟสได้ง่าย ถ้าแอมป์ที่ใช้ขับนั้นมีกำลังไม่มากพอ หรือศักยภาพในการควบคุมลำโพงไม่ถึง            เมื่อการควบคุมย่านความถี่ อิมพิแดนซ์ต่างๆ ไม่แม่นยำ ผลตามมาคือเสียงแต่ละย่านความถี่เปลี่ยนแปลงวูบวาบเกือบตลอดเวลาของการเพลย์แบ็ค           แต่ถ้าจัดระบบดี แอมป์ดี ลำโพงดี สายลำโพงดี เข้ากันหรือแมตช์กันได้ลงตัว ระบบนี้ก็จะมีข้อดีเด่นตรงเสียงจากลำโพงจะเปิดกว้างมากขึ้น เสียงหลุดลอยออกจากตู้ และมีมิติชัดเจนขึ้น           แต่การใช้สายลำโพงสองชุด จากแอมป์ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ที่ไม่ค่อยจะคุ้มค่านัก            ระหว่างใช้สายลำโพงรุ่นสูงๆ ชุดเดียว ในระบบ Single-Wire มักจะดีกว่า ระบบ Bi-Wire ที่ต้องแบ่งงบไปใช้สายลำโพงระดับปานกลางสองชุด          ผมจึงไม่ค่อยแนะนำระบบ Bi-Wire ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ          อีกประการหนึ่ง การเล่นระบบ Bi-Wire นั้น มักจะทำให้โทนัลบาลานซ์ของย่านความถี่ควบคุมยาก เสียงกลางแหลมมักจะพุ่งล้ำหน้าเกินจริง            การประสานกันของตัวขับเสียงแหลมและเสียงทุ้ม เมื่อจะต้องทำการเปล่ง “เสียงกลาง” หรือช่วง Midrange ออกมาอาจจะลักลั่นกันได้ง่ายอีกด้วย          เรียกว่ามีข้อดีตรงเสียงเปิดกว้างขึ้น แต่ถ้าในระบบมีอะไรเป็นจุดอ่อน ย่อมผิดเฟสได้ง่าย บางครั้งฟังขาดๆ เกินๆ ไม่เป็นธรรมชาตินัก           จึงอยากให้ถือเป็นข้อพิจารณา ถ้าจะเล่นระบบ Bi-Wire ทุกอย่างในระบบต้องเข้าขั้นดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ         3. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน ทั้งการเชื่อมต่อสายลำโพง และแอมป์จะเป็น Bi-Amplifications แยกส่วนทั้งหมด อาจจะมากกว่า เช่นเป็น Tri-Amplifications ก็เป็นไปได้           เพราะรูปแบบนี้ เริ่มมาจากระบบงาน PA หรือ Professional ที่สามารถแยกย่านความถี่ ตั้งแต่ 2 ถึง 4 หรือ 5 ย่านความถี่ ให้แอมปลิไฟร์ขับลำโพง แต่ย่านความถี่อย่างอิสระ           ดังที่เรียนได้ว่าอะไรก็ตามที่เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนสูง ก็จะอาจจะเกิดจุดความเพี้ยนของรอยต่อ ได้เสมอ            ต้องพิจารณาตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์ ครอสโอเวอร์  ปรีแอมป์ เพาเวอร์แอมป์ สายสัญญาณ สายลำโพง ต่อเชื่อมระหว่างระบบอย่างรอบคอบที่สุด มิฉะนั้นระบบขนาดใหญ่เช่นนี้ จะผิดพลาดได้ทุกจุด           ข้อดี ก็คือเราสามารถควบคุมกำหนดคุณภาพเสียง ศักยภาพเสียงระดับความดังย่านความถี่ ที่ปรับแต่งให้เป็นไปตามความต้องการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไปจนถึงจุด “อุดมคติ” ได้             แต่ในความใหญ่ของระบบนั้น ก็จะมักจะแลกมาด้วย ความประณีตพิถีพิถัน ความชำนาญของการจัดซิสเต็ม การจูนอัพ การเซ็ตอัพที่เพียบพร้อมจริงๆ เพราะหากพลาดจุดใด จุดหนึ่ง มีสิทธิ์ที่จะยุ่งเหยิง แก้ไขปัญหาไม่จบสิ้นได้ด้วยเช่นกัน            ในปัจจุบันมีลำโพงระดับไฮเอ็นด์บางคู่มีข้อแนะนำเรื่องของแอมปลิไฟร์  ที่จะใช้ในระบบ Bi-Amplifications หรือ Tri-Amplifications  รวมถึงบางรุ่น ภายในตู้ได้บรรจุแอมป์ขับลำโพงเสียงทุ้ม ซับวูฟเฟอร์มาในตัวอีกต่างหาก              หรือลำโพงบางคู่มีเครื่องอีเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์มาให้เสร็จสรรพ เพื่อตัดแบ่งความถี่ให้กับแอมป์            ผมไม่แนะนำให้นักเล่นมือใหม่ลงไปเล่นถึงระบบ แยกแอมปลิไฟร์ขับในแต่ย่านความถี่แบบนี้นะครับ ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญปรับแต่ง จูนอัพ และติดตั้งให้           เข้าทำนองว่า ระบบที่ใหญ่ที่สุดแบบนี้ พร้อมจะดีอย่างน่าใจหาย และพร้อมจะร้ายจนปวดศีรษะ ไม่เว้นแต่ละวันก็ได้เช่นเดียวกัน           4. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน แบบเพิ่ม Super-Tweeter เพิ่ม Active Sub-Woofer ระบบนี้ แรกสุดเป็นการออกแบบเพื่อแก้ไขความถี่ไม่สมบูรณ์ของระบบเสียง ที่อาจจะเนื่องมาจาก ข้อจำกัดของระบบ หรือสภาพอะคูสติกต่างๆ ที่ทำให้ย่านความถี่ไม่ครบตามที่ต้องการ           แบบแรก เสริมตัวขับความถี่สูงสุดโดยเฉพาะ คือ Super-Tweeter เข้าไปในลำโพงเดิม ด้วยการต่อพ่วงเข้าไปในชุดลำโพงเดิม          แบบที่สอง เสริม Sub-Woofer เข้าไปในลำโพงชุดเดิม วิธีการนี้ก็คือ เป็นการเสริมการเล่นแบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว ด้วยการเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง คือเพิ่มความถี่สูงช่วงบน และความถี่ต่ำช่วงล่าง          กรณีของซูเปอร์ทวีตเตอร์ คือการเพิ่มย่านความถี่สูง ที่สูงกว่า 20kHz  ขึ้นไป จนถึง 50,000Hz            ซึ่งย่านความถี่ตรงนี้ เริ่มมีการให้ความสำคัญอันเนื่องมาจาก การกำเนิดของระบบดิจิตอลออดิโอ Super Audio CD รวมถึงความต้องการสนองตอบดนตรีสมัยใหม่ที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น         ผู้ออกแบบซูเปอร์ทวีตเตอร์ให้คำอธิบายว่า ลำโพงซึ่งตอบสนองความถี่ 20 ถึง 20,000 เฮิร์ตซ์ทั้งหลาย ในความเป็นจริงนั้น ย่านความถี่ช่วงปลายที่ 20,000 เฮิร์ตซ์ จะมีลักษณะเอียงลาดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ยินความถี่ช่วงปลายได้ไม่ถึง 20,000 เฮิร์ตซ์จริง          ซูเปอร์ทวีตเตอร์จึงเข้ามาช่วยต่อเติมย่านความถี่ตรงนี้ ให้ย่านความถี่เสียงแหลมนั้นไปไกลสูงสุดยิ่งขึ้น           การเสริมซูเปอร์ทวีตเตอร์จะทำให้เสียงโดยรวมของลำโพงนั้น มีย่านความถี่ช่วงปลายที่มีรายละเอียดสูงมากยิ่งขึ้น โดยซูเปอร์ทวีตเตอร์ อาจจะออกแบบให้มีตัวปรับหรือเลือกย่านความถี่จุดตัดที่เหมาะสมจากตัวซูเปอร์ทวีตเตอร์ด้วย            การเสริมซูเปอร์ทวีตเตอร์นั้นมักไม่ค่อยมีผลเอฟเฟ็กต์อะไรรุนแรงกับลำโพงเดิม เป็นการจัดการเซ็ตอัพที่ง่าย แต่ควรจะถามตัวเองด้วยว่าเรายังขาดความถี่ช่วงปลายเสียงแหลมจริงหรือไม่ และถ้าขาดเราจะเพิ่ม ซูเปอร์ทวีตเตอร์ของแบรนด์ใดเข้าไปในระบบจึงจะเหมาะที่สุด โดยไม่ทำให้บุคลิกดั้งเดิมของลำโพงหลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป           แบบที่สอง การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน แบบเพิ่ม Active Sub-Woofer           ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน มีการพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันมากในเรื่องของการเสริม Active Sub-Woofer เข้าไปในระบบดั้งเดิมที่เป็นสเตอริโอโฟนิค           ทางสายหนึ่งก็มีการแอนตี้ ว่าไม่ดี อีกทางสายหนึ่งก็เปิดรับว่าเป็นการเสริมย่านความถี่เสียงต่ำ ที่ทำให้ระบบนั้น สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น           อย่างไรก็ตามในฐานะผมเป็นนักเล่นซึ่งมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเสียงดนตรีจริงที่เวทีคอนเสิร์ต ในคอนเสิร์ตฮอลล์ รวมถึงลงไปทำงาน ในห้องบันทึกเสียง กับ Sound Engineer ซึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงเพลงต่างๆ ให้เราได้ฟัง           อยากจะเสนอความคิดเห็นว่า หากวัดด้วยอัตราส่วนการย่อสเกลดนตรีจริง ลงมาอยู่ในห้องฟัง สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นในระบบเสียงนั้น - หากขาด เราก็สามารถเติมเข้าไปได้ - หรือสิ่งใดที่พอดีอยู่แล้วก็ไม่ควรจะเสริมเข้าไป           ทุกสิ่งอยู่ที่วิจารณญาณ และความพึงใจของผู้ที่เป็นเจ้าของซิสเต็มเอง           เราก็ต้องยอมรับกันว่าย่านความถี่เสียงต่ำลึกนั้นเป็นเรื่องที่เป็นปัญหามาตลอดสำหรับผู้ที่เล่นระบบเสียงภายในบ้าน          ลำโพงคู่หนึ่งๆ คู่เดียว อาจจะไม่สามารถลงความถี่ต่ำลึกได้อย่างพอเพียง จึงได้เกิดวิธีการเล่นด้วยการเสริม Active Sub-Woofer เข้าไปในระบบ           ดังที่เรียนไว้เบื้องต้นว่าการเล่นเครื่องเสียงด้วยวิธีการใดก็ตาม จะไม่มีวิธีใด ที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด แต่อาจจะมีวิธี ซึ่งเราทุกคนสามารถไปถึงยังจุดหมายได้อย่างสมบูรณ์           การเสริม Active Sub-Woofer เข้าไปในระบบนั้น แรกเริ่มเดิมที มีผู้ออกแบบผู้ผลิตลำโพงหลายบริษัท มีการนำเสนอ Active Sub-Woofer ให้กับลำโพงบางรุ่นของเขา เพื่อให้ได้ความถี่อันครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนก็คือ         Rogers LS3/5A ที่มีการออกแบบ AB-3a ลำโพง Active Sub-Woofer ให้สามารถเสริมความถี่ต่ำเข้าไปได้ มีจุดตัดความถี่ มีที่ปรับระดับอินพุต เฟสบาล้านซ์ ให้กลมกลืน ในห้องที่อาจจะมีความแปลกแยกแตกต่างกันไป            จุดเด่นของการใช้ Active Sub-Woofer ก็คือ ถ้าจัดวางตำแหน่งและเซ็ตอัพได้ถูกต้อง ใช้จำนวนตู้ Sub ให้พอดีกับสเกลของเสียงดนตรี (ไม่มากเกินหรือน้อยเกิน) การฟังเพลงจากชุดเครื่องเสียงจะดูสมจริงมากยิ่งขึ้น            แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของการเซ็ตอัพหรือการใช้จำนวนตู้ Active Sub-Woofer เนื่องจากว่าย่านความถี่ต่ำนั้นคลื่นความถี่ค่อนข้างยาวมากกว่าความถี่อื่น (แม้ว่าเสียงจะเดินทางมาถึงเราพร้อมกัน) แต่ความถี่ต่ำก็มักจะเป็นมลพิษขึ้นมาได้เช่นกัน           อาทิเกิดเสียงเบสบวมทั้งห้อง เสียงเบสเข้าไปกลบเสียงกลางแหลมเป็นต้น         ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับวิธีการเสริมการใช้งาน การเซ็ตอัพที่เหมาะสมในแต่ละซิสเต็ม           ผมจะขอนำมาบอกเล่าประสบการณ์ในตอนถัดไปเพื่อที่ว่าบทความในแต่ละตอนจะไม่ยาวเกินไป          พบกันในในตอนที่ 5 ครับ  

The Light of Audiophile ตอนที่ 3 การเล่นเครื่องเสียงโฮมยูสด์หลากหลายแนวทาง

The Light of Audiophile ตอนที่ 3 การเล่นเครื่องเสียงโฮมยูสด์หลากหลายแนวทาง            บทความแต่ละบท เริ่มต้นจากประสบการณ์ ความคิดของผมเอง ไม่ได้อ้างอิงตำราใดๆ เป็นหลัก แค่เหมือนคนที่ออกมาบอกเล่าประสบการณ์ในฐานะนักเล่นเครื่องเสียง ที่ไม่ใช่นักวิชาการ นะครับ          ดังนั้นการอ่านจะพึงมีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อท่านทราบว่า ท้ายที่สุดของการเล่นเครื่องเสียง คือปลายทางที่เราได้ยินเสียงและมีความสุขเท่านั้น           ไม่ได้ชวนท่านท่องตำรา หาเหตุผลทางหลักฟิสิกส์ ถ้าแบบนั้น ท่านสามารถศึกษาได้จากตำราต่างๆ ได้อยู่แล้ว            ดังนั้น จึงต้องขออภัย ที่ศัพท์บัญญัติ ของผมในฐานะคนเล่นเครื่องเสียง จึงเป็นศัพท์เฉพาะตัว ไม่สามารถยึดเป็นหลักการสากลใดๆ ได้เลย          แต่เป็นแนวทางหนึ่ง ที่คนเล่น สื่อสารถึงคนเล่นในแบบเดียวกัน เพื่อความเข้าใจง่ายนะครับ             การเล่นเครื่องเสียงมีพัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่เสียงระบบโมโนMonophonic ช่องเสียงเดียว มาถึงระบบสองช่องเสียง Stereophonic และบางช่วงเวลาก็แผลงออกไปถึง Quadraphonic หรือระบบสี่ช่องเสียง (ที่ได้สูญสลายแนวทางไปแล้ว)             ถ้าจะกล่าวว่า ส่วนที่เหลือคือ ทั้งระบบเสียงช่องเสียงเดียว และระบบสองช่องเสียงนั้น ในปัจจุบันความนิยมที่ถูกยอมรับเป็นสากลคือ ระบบสองช่องเสียง (ระบบสเตอริโอ)             ระบบ Stereophonic ที่นักบันทึกเสียง (Recording) และคนฟัง (Playback) เห็นพ้องกัน มานานแล้ว ว่าพอเหมาะ พอควร สำหรับการแสดงผล ทั้งรายละเอียด การแยกแยะ การประสาน เวทีเสียง ตำแหน่ง และอิมเมจของเสียง เป็นที่ยอมรับได้            แม้สตูดิโอจะสามารถบันทึกเสียงดนตรี แยกแยะออกมาได้ ถึง 48 แชนแนล ในทางปฏิบัติ แต่ที่สุด Sound Engineer ก็จะต้องนำทั้งหมดมามิกซ์รวมกันให้เหลือเพียง 2 แชนแนล อยู่ดี           ส่วนระบบโมโนนั้น จะอยู่ในกลุ่มนักเล่นวินเทจระดับไฮเอ็นด์ ที่ยังคงหลงใหลในเสน่ห์บางประการของช่องเสียงตรงๆ แบบแชนแนลเดียว            เรามาทบทวน องค์ประกอบระบบเสียงมาตรฐาน Stereophonic ของโฮมออดิโอ นะครับ ที่ผมจะแยกออกเป็น สามส่วนหลัก และสองส่วนรอง คือ            สามส่วนหลักได้แก่ 1. แหล่งโปรแกรม อันได้แก่ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นซีดี เครื่องรับวิทยุหรือจูนเนอร์ เทปรีล สตรีมเมอร์ ที่จะมีหน้าที่ในการป้อนสัญญาณอนาล็อก หรือดิจิตอล ให้กับภาคขยายอีกทีหนึ่ง             ส่วนที่เครื่องเล่นบางประเภทจะไปแยกรายละเอียดของระบบเป็น ภาคปรีโฟโน ภาค DAC รองรับและถอดรหัสสัญญาณดิจิตอล ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง       2. ภาคขยาย หรือ Amplifier ที่มีหน้าที่อยู่สองส่วน - ส่วนแรกคือ ภาคปรีแอมป์ Pre-Amplifier ที่จะนำเอาสัญญาณขนาดเล็กมาปรับแต่งให้เหมาะสม และคัดสรร จัดส่งไปยังภาค Power Amplifier หรือภาคขยาย สำหรับขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น พอเพียงที่จะขับเสียงลำโพงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ         - ในภาคขยายสองส่วนหลักนี้ จะรวมกันหรือแยกกัน เพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงในวันข้างหน้าก็แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ออกแบบ ถ้ารวมกันเราเรียกว่า Integrated Amplifier นั่นเอง              และถ้ามีการแทรกอุปกรณ์ปรับแต่งเสียงและย่านความถี่เข้าไป เราอาจจะมี Sound Processer หรือ Equalizer เสริมเข้าไปด้วย         3. ลำโพง ซึ่งก็จะมีการออกแบบที่พลิกแพลงแตกต่างกันไปตามรสนิยมของผู้ฟัง และไอเดีย หรือการแปลเจตนารมย์ เสียงดนตรีของผู้ผลิต            ทั้งลำโพงตู้เปิด ลำโพงตู้ปิด ลำโพงแพสสีพเรดิเอเตอร์ ลำโพงแยกส่วน ลำโพงไร้ตู้ ลำโพงSub-satellite ลำโพงป้อนไฟฟ้า-อีเล็กโทรสแตติก และอื่นๆ         ในรายละเอียดเรื่องนี้จะนำไปกล่าวกล่าวในส่วนที่เป็นเรื่องราวของลำโพงโดยเฉพาะ สองส่วนรอง ที่กล่าวถึงคือ 1. อุปกรณ์เพื่อการเชื่อมต่อ เช่นสายลำโพง สายนำสัญญาณ สายไฟ สายอากาศ สายอนาล็อก สายดิจิตอล       2. อุปกรณ์เพื่อการปรับแต่งภายนอกอาทิ ตัวรอง อุปกรณ์วางทับบนเครื่อง และอื่นๆ ที่อาจจะจัดให้เป็น แอกเซสซอรี่ ส่วนเสริม            ทั้งหมดที่นำเสนอมานี้ ดูเหมือนว่าท่านผู้อ่านก็คงคิดว่าใครเค้าก็รู้ทั้งนั้น ละ?  แต่ที่ผมอยากจะนำมาทบทวนอีกครั้งก็เพื่อให้เราได้เข้าใจว่า โดยระบบหลัก และระบบรองนี้ เราได้นำมาผสมผสานปรุงแต่ง แยกแยะ ออกไปด้วยวิธีการเล่นแบบใดบ้าง           เพราะการเล่นเครื่องเสียงในระบบสเตอริโอโฟนิกนั้น ยังมีวิธีการเล่นที่แตกต่างหรือใช้เครื่องมือให้มีความสลับซับซ้อนออกไปอีก  ดังจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ 1. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว ยกตัวอย่างภาพให้เห็นง่ายๆ ก็คือ แอมป์หนึ่งเครื่อง ต่อสายลำโพงหนึ่งชุด แยกซ้ายขวาให้กับลำโพงหนึ่งคู่ นั่นคือ Stereophonic หรือ ในการเชื่อมต่อลำโพงจะใช้สายชุดเดียว หรือ Single Wired          2. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน ด้วยการใช้สายลำโพงแยกออกเป็น 2 ชุด เพื่อแยกเสียงแหลม และเสียงทุ้มออกจากกันอย่างเป็นอิสระ สำหรับระบบลำโพงชนิด Bi-Wired             วิธีการนี้หลายคนเชื่อว่าจะทำให้เสียงปลอดโปร่งและเข้าถึงรายละเอียดมากขึ้น แต่จุดอ่อน คือถ้าแอมปลิไฟล์คุณภาพไม่พอเพียงจะทำให้เกิดการผิดเฟสของเสียงได้ (Phase shift)         3. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อนด้วยการแยกแอมป์ ขับความถี่ เป็น 2 หรือ 3 ชุด หมายถึงต้องใช้แอมป์ 2 หรือ 3 เครื่อง แยกกันขับความถี่ให้กับลำโพง เป็น  - ไบ-แอมป์ Bi-Amplification 2 ชุด - และไตร-แอมป์ Tri-Amplification 3 ชุด          ลำโพงที่นำมาใช้ร่วมกัน ก็จะต้องแยกขั้วลำโพงออกเป็น 2 หรือ 3 ชุด ด้วยเช่นกัน          ระบบนี้ จะไม่ใช่แค่เพียงแยกสายออกมาเป็นสองชุด สามชุด แต่จะแยกแอมป์ขับความถี่ ทุ้ม กลาง แหลม ออกจากกันไปด้วยเลย             กล่าวได้ว่า ระบบ ไบ-แอมป์ หรือไตร-แอมป์ มีผลให้ก่อกำเนิดการออกแบบลำโพง Subwoofer แบบ passive ขึ้นมา  โดยลำโพงซับวูฟเฟอร์ชนิดนี้จะต้องใช้แอมปลิไฟร์ ภายนอกมาขับเสียงย่านความถี่ต่ำเฉพาะ          ระบบ Bi-Amplifications นี้ค่อนข้างที่จะมีความสลับซับซ้อนมาก และจะให้คุณภาพเสียง รายละเอียดเสียงในระดับที่สูงมากเช่นเดียวกัน เพียงแต่ในแต่ละช่วง ของการเชื่อมต่อ ย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้เช่นเดียวกัน            สิ่งเหล่านี้ มีมาก่อนที่ระบบของซับวูฟเฟอร์จะพัฒนามาเป็นแบบบรรจุแอมปลิไฟล์เข้าไปในตัวตู้ เป็นแบบแอคทีฟซับวูฟเฟอร์ (Active Subwoofer)          ระบบ Bi-Amplification หรือTri-Amplifications นั้น เพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ขับเสียง จะต้องรับสัญญาณผ่านมาจากตัวแอคทีฟ ครอสโอเวอร์ Active Crossover Network ที่มีหน้าที่ในการช่วยตัดแบ่งความถี่ ในแต่ละย่าน คือ High – Mid - Low            ระบบนี้ เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเล่นประเภทไฮเอ็นด์ หรือออกแนวซีเรียสออดิโอ มาช้านาน แม้ปัจจุบันจะนิยมระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยวธรรมดา แต่นักเล่นระดับลึกๆ ยังคงมีการเล่น Bi-Amplification อยู่           หรือลำโพงไฮเอนด์บางรุ่นบางแบรนด์ ก็ยังคงนำเอาระบบ แยกแอมป์ ขับโดยมีอีเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์ เป็นตัวตัดแบ่งความถี่มาใช้สำหรับแอมปลิไฟร์ เช่น B&W Nautilus เป็นต้น           เป็นสิ่งที่น่าแปลกอยู่ไม่น้อยที่ระบบซึ่งใช้อิเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์ตัดย่านความถี่ สู่เพาเวอร์แอมป์หลายเครื่อง สำหรับขับลำโพงแยกกันดังกล่าวนี้ กลับมีใช้อยู่ในระบบเครื่องเสียงงาน Professional และเครื่องเสียงรถยนต์ มากกว่าเครื่องเสียงบ้าน          การเล่นเครื่องเสียงปัจจุบันยังแบ่งออกเป็นการออกแบบระบบเสียงเฉพาะตัวอีก ระหว่างการเล่นเครื่องเสียงสเตอริโอ เชิงเดี่ยว เบสิก กับวิธี “การเสริมบน เสริมล่าง” ของย่านความถี่ นั่นคือ   - เสริม Super Tweeter  (เสริมบน) - เสริม Active Subwoofer (เสริมล่าง) บ้างก็เรียกวิถี การเล่นระบบเสียงออกเป็น  ระบบ 2.0 Channel ระบบ 2.1 หรือ 2.2 Channel และไปไกลถึงการเสริม Active Subwoofer แบบ Stack Subwoofer            สำหรับส่วนตัวผม เป็นคนเล่นเครื่องเสียงแบบยึดเอาความแฟลต สมจริง ใกล้เคียงเสียงดนตรีธรรมชาติ ไม่ได้มีความเห็นใดๆ ที่ขัดแย้งในวิธีการ ที่จะนำพาเราไปสู่ความสุขในเสียงดนตรีในทุกวิธีการ            ถ้าตราบใด เสียงที่ย่านความถี่ใดขาดไป ไม่สมจริง เราก็สามารถเติมเต็มได้  จะต้องมานั่งคิดว่า มันผิดหรือถูก ไม่เหมือนคนอื่น เพื่ออะไรกัน เล่นเองก็ความสุขของตนเองครับ ใครจะมาทุกข์หรือสุขแทนเราได้          หรือถ้ามันพอดีอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสริมเข้าไปให้มันล้น หรือเกินจากความจริง  สิ่งเหล่านี้ ต้องถามตัวเองมากกว่า            สิ่งเหล่านี้ วัดได้จากประสบการณ์เกี่ยวกับคุณภาพเสียง และสเกลของเสียงเป็นสำคัญ ซึ่งเคยอธิบายในหัวข้อ Tonal Balanced ไปหลายครั้งแล้ว         เพียงแต่ผมไม่อยากเรียกว่า เป็นระบบ 2.0 หรือ 2.1 , 2.2 เพราะปกติการมิกซ์เสียงในระบบStereophonic ไม่มีสตูดิโอไหน ทำการมิกซ์ ช่องเสียง .1 มาเป็นการเฉพาะ เหมือนการมิกซ์เสียงระบบเซอร์ราวด์ในภาพยนตร์         จึงสมควรเรียกว่า ระบบเสียงสเตอริโอ นี่ละครับ หรือจะเรียกว่า Stereophonic plus Subwoofer หรือ Stereophonic plus Super Tweeter ก็น่าจะกระจ่างชัดกว่า          ผมไม่อยากกล่าวว่าการเล่นเครื่องเสียงด้วยวิธีการต่างๆ อะไรผิด อะไรถูก ทั้งซิงเกิ้ลไวร์, ไบร-ไวร์, ไบร์-แอมป์ เสริมซูเปอร์ทวีตเตอร์ เสริมซับวูฟเฟอร์  การวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งใด ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดใจให้กว้าง อย่าใช้ความคิดที่คับแคบที่คอยทำให้เราคอยจำกัดตัวเองไปตลอด ทุกรูปแบบและวิธีการเล่นเครื่องเสียงนั้นไม่มีรูปแบบใดที่ถือว่าสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ล้วนมีทั้งจุดอ่อนจุดแข็งที่จะต้องปรับแก้ไขให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งที่ควรพิจารณามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ..         วิถีทางใด ที่ “พอดี - พอใจ” สะดวก เหมาะสมสำหรับเรา นั่นละครับสำคัญที่สุด  ทุกอย่างมีเหตุและผลรองรับอยู่ในตัวเองเสมอครับ โปรดติดตาม เรื่องราวเบื้องลึกในประสบการณ์เล่นเครื่องเสียงกันต่อไปครับ           ซึ่งครั้งต่อไปจะมาแชร์ประสบการณ์  รูปแบบวิธีการเล่น จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาของ Single Wired, Bi-Wired, Bi-Amplifications, Stereophonic plus Sub-Woofer and Super Tweeter         ขอบพระคุณ ที่ติดตามกันต่อเนื่องครับ  

The Light of Audiophile ตอนที่ 2 กฏธรรมชาติ ไม่มีอะไรดีที่สุด ไม่มีอะไรแย่ที่สุด

The Light of Audiophile ตอนที่ 2 กฏธรรมชาติ ไม่มีอะไรดีที่สุด ไม่มีอะไรแย่ที่สุด การพัฒนาการของเครื่องเสียงหรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบต่างๆ นานาไม่เคยหยุดนิ่ง ก็เพราะว่านักออกแบบทั้งหลายย่อมทราบถึง ความเป็นจริงที่ว่า ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็ค โดยปราศจากจุดอ่อน          ทุกอย่างที่เคยออกแบบมาในอดีตนั้นแม้ว่าจะดีที่สุดในความคิดไอเดียแล้ว แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง ที่สมควรแก่การแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ           เมื่อมีการค้นพบสิ่งที่ดีกว่า วงจรภาคขยายจากคุณภาพเสียงระดับ “ให้พอได้ยิน” ก็กลายเป็น เข้าถึง “ความเป็นจริง” หรือ High Fidelity มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ          หลักวิศวกรรมเครื่องเสียงในเชิงอนาล็อกที่คิดค้นกันมานานนับศตวรรษอาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่ง ไม่มีอะไรที่เรียกว่า วงจรใหม่ แต่เป็น “พื้นฐานวงจรเดิมที่ปรับปรุงพัฒนาใหม่” เท่านั้น              วงจรขยายแบบคลาส A มีข้อดีตรงการทำงานของวงจรและอุปกรณ์ เป็นเชิงเดี่ยว ได้คุณภาพเสียงไหลลื่นไร้รอยสะดุด แต่มีอัตราสูญเสียเป็นความร้อนสูงเกินไป            วงจรคลาส B ที่มีอุปกรณ์ทำงาน “เชิงคู่” ช่วยในการผลักดัน เหมือน “วิ่งผลัด” ทำให้ได้มาซึ่งกำลังขับสูง แต่เสียงจะออกในแนวหยาบ เต็มไปด้วยความเพี้ยนจุดรอยต่อ จึงไม่มีการนำมาใช้งาน         วงจรคลาส A-B ที่พัฒนาต่อมา มีการจับคู่อุปกรณ์ แล้วทำการไบอัสกระแสน้อยๆ ที่อุปกรณ์ขยายให้พร้อมต่อการทำงาน ดังนั้นจึงเป็นวงจรที่ได้ทั้งกำลังขับและความเนียนละเอียดของเสียง          ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา มีนักออกแบบหัวใสชาวอเมริกัน นาม บ็อบ คาร์เวอร์ ทำการออกแบบแอมป์ขยาย ในแบบสวิตชิ่งแอมป์ ที่มีการปรับการขยายออกเป็นสามระดับ เริ่มต้นแรงขยายต่ำ แรงขยายระดับกลาง และแรงขยายระดับสูง        ระบบ Switching Power Supply ของ บ็อบ คาร์เวอร์ เรียกว่า แมกเนติคฟีลด์  ถือเป็นแนวคิดเริ่มต้นที่สามารถออกแบบแอมป์ ขนาดกำลังขับ 200 วัตต์ มีวงจรเล็กที่วางไว้ในฝ่ามือได้         เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ต่อจากนั้นเป็นต้นมา ก็มีการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลแอมป์ อาจกล่าวได้ว่า แอมป์ยุคหลัง มีการปรับปรุงให้แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังเสียง อันมี คลาส D, คลาส G, คลาส H, คลาส T เป็นต้น           ซึ่งอุปกรณ์และวงจรด้านอิเล็กทรอนิกส์ มีการพัฒนาขึ้นมามาก ทำให้ใช้วงจรขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าเดิม           ยกตัวอย่าง เครื่องขยายคลาส D จะทำงานแบบลักษณะ Square wave ที่มีความกว้างที่เรียกว่า PWM (Pulse Width Modulation) ที่มีอัตราสูญเสียเป็นความร้อนน้อยลง              แรกสุดดิจิตอลแอมป์ ให้เสียงแบบ “หยาบคายร้ายกาจ” เหมือนดังที่นักวิจารณ์เครื่องเสียงต่างแสดงความไม่พึงพอใจคุณภาพเสียงเป็นอย่างมาก แต่การพัฒนามานานกว่า 40 ปี ดิจิตอลแอมป์ก็สามารถ ลดจุดบอดต่างๆ ของวงจรดั้งเดิมแบบอนาล็อกและให้คุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับในที่สุด           ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มีการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ ความชอบหรือไม่ชอบ เป็นเรื่องของการพิสูจน์คุณภาพ ของสิ่งที่คิดค้นใหม่ทั้งหลายกันให้กระจ่างแจ้ง            เราคงจำกันได้ว่า กล้องดิจิตอลที่ถูกคิดค้นมาใช้งานครั้งแรก ถูกต่อต้านขนาดไหน และปัจจุบันเป็นอย่างไร          สิ่งที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้น ผมอยากนำเสนอแนวคิดที่ว่า ทุกรูปแบบ ทุกวงจร ทุกๆ อย่างในระบบลำโพง ทั้งแบบท่อเปิด ท่อปิด ท่อออกหน้า ท่อออกหลัง การออกแบบล้วนเป็นความพยายามลดจุดบอด เสริมจุดเด่นทั้งสิ้น         เพียงแต่การเปิดใจรับนั้น เป็นเรื่องที่กำหนดลงไปไม่ได้ เพราะแม้ทุกสิ่งที่ดีในปัจจุบัน มันก็ยังมีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป เพื่อการเข้าถึงอุดมคติ หรือความเป็น High Fidelity         ในโลกใบนี้ กฏธรรมชาติ อธิบายความจริงให้เราเรียนรู้ว่า ไม่มีอะไรดีที่สุด ไม่มีอะไรแย่ที่สุด เพียงแต่อะไรที่เหมาะสมกับเรา ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงรสนิยมของแต่ละท่านจะตอบรับกับสิ่งใด กับเหตุผลที่อยู่ในใจของทุกท่าน