Unison Research เป็นบริษัทในประเทศอิตาลี ซึ่งก่อตั้งโดยออดิโอไฟล์กลุ่มหนึ่งจำนวน 5 คนที่มีความชื่นชอบในเสียงเพลง โดยมี Giovanni Maria Sacchetti ซึ่งเป็นคนที่ชอบศึกษาและออกแบบเครื่องเสียงตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นหัวหอกของกลุ่มทำการทดสอบแอมปลิไฟเออร์

โดยนำเอาความรู้ด้านวิศวกรรมอิเลคทรอนิกส์ที่ได้เล่าเรียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นี่คือเหตุผลที่ชื่อแบรนด์สินค้าและบริษัทไม่ได้ตั้งตามชื่อสกุลเหมือนกับที่นิยมปฏิบัติกัน ด้วยความชื่นชอบในเสียงเพลงที่ได้รับการปลูกฝังจากคุณพ่อซึ่งเป็นนักเปียโน เขาจึงได้สร้างเครื่องเสียงด้วยการใช้หลอดสุญญกาศ ซึ่งให้บุคลิกเสียงที่หวาน อบอุ่น จนได้รับความชื่นชอบอย่างกว้างขวาง

    กระทั่งปี 2000 เริ่มมีเสียงเรียกร้องอยากได้แอมป์ฯ ที่มีพลังขับสูงๆ ทางบริษัทจึงได้คิดค้นวงจรแบบไฮบริด โดยการผสมผสานหลอดกับมอสเฟต เพราะมิเช่นนั้นแล้ว จะต้องสร้างเครื่องขนาดใหญ่เพื่อให้กำลังขับสูงขึ้นถ้าใช้หลอดอย่างเดียว

     ทำให้บริษัทมีผลิตภัณฑ์สองซีรีส์คือ Valves กับ Unico Series นั่นคือ แบบแรกเป็นหลอดเพียวๆ ส่วนแบบหลังเป็นแบบไฮบริด และใช้เคสอลูมิเนียมเพื่อสร้างความแตกต่าง

     ในด้านการออกแบบนั้น มุ่งเน้นด้าน emotion (อารมณ์) นั่นคือ เครื่องเสียงของเขาจะต้องเสียงดี (good sound) เสียงที่อบอุ่น (warm sound) และมีความสวยงามคลาสสิก แต่ว่าเทรนของเครื่องเสียงก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นักเล่นเครื่องเสียงเริ่มหันไปเล่นไฟล์เพลงดิจิตอลมากขึ้น และปัจจุบันก็เข้าสู่ยุคของการสตรีมมิ่ง ดังนั้น Unison Research เอง ก็ไม่ละเลยเทรนนี้เช่นกัน เราจึงได้เริ่มออกแบบ DAC ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายได้ปลายปี 2020 หรือต้นปี 2021

แน่นอนว่า เทคโนโลยีด้านดิจิตอลกับการออกแบบเครื่องเสียงแบบอนาล็อกแตกต่างกันมาก Unison Research จึงได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เรา แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงปรัชญาในการออกแบบของ Unison Research เช่นเดิมเพื่อให้ได้เสียงที่ดีและอบอุ่น ดังนั้นทีมงานออกแบบทั้งสองฝ่ายจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันเสมอ

     สำหรับคำพูดที่ว่า ”Handmade in Italy” นั้น หมายถึงเราทำตั้งแต่การออกแบบ การประกอบ การ QC เป็นต้น ส่วนชิ้นส่วนนั้น อาจจะใช้เอาต์ซอร์ส โดยจะพยายามใช้ผู้ผลิตที่อยู่รอบๆ โรงงาน (zero kilometer) เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การส่งมอบ เป็นต้น     

     ส่วนหลอดนั้นมาจากโรงงานในรัสเซีย ซึ่งเป็นโรงงานผลิตหลอดที่ดีมาก ส่วนคำถามที่ว่า หลอดใหม่สู้หลอด NOS ไม่ได้นั้น ต้องยอมรับว่า ยุคสมัยมันเปลี่ยน ความต้องการใช้หลอดที่เคยใช้ในด้านการสื่อสารก็เปลี่ยนไป ผู้ผลิตทำแล้วไม่คุ้มเพราะดีมานด์น้อยก็ต้องปิดตัวไป แต่ผู้ผลิตที่รัสเซียนั้น เป็นโรงงานที่มีมาตรฐานดีมาก

     และเร็วๆ นี้เราก็เพิ่งติดต่อ และทดสอบหลอดจากโรงงานในประเทศจีนซึ่งเป็นโรงงานที่ใหญ่ ทันสมัย มีระบบการ QC ที่มีมาตรฐานสูงมาก การเลือกใช้หลอดของเรานั้นไม่ได้เพียงแค่พิจารณาด้านเสียงอย่างเดียว เรายังต้องพิจารณาในเรื่องของความน่าเชื่อถือ และการอุปสงค์ว่าจะสามารถซัพพลายให้เราได้ต่อเนื่องนานแค่ไหน ไม่ใช่ใช้ไปปีสองปีแล้วเลิกผลิต ถ้าเป็นเช่นนี้เราคงถูกลูกค้าตำหนิแน่

  Mr. Bartolomeo Nasta กล่าวในเรื่องของการออกแบบผลิตลำโพงว่า

   “สำหรับผลิตภัณฑ์ลำโพงนั้น อาจมีเรื่องราวนิดหน่อย คือในปี 2000 ตอนที่คุณพ่อของผมเข้าไปถือหุ้นใน Unison เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งก่อนหน้านั้นคุณพ่อทำธุรกิจผลิตลำโพง Opera อยู่แล้ว แต่ลำโพงดังกล่าวนำมาแมตช์กับเครื่องเสียง Unison ได้ยาก เพราะต้องใช้กำลังขับสูงถึงขับได้ซึ่งเป็นโจทย์ข้อใหญ่สำหรับเรา ตอนหลังได้พันธมิตรที่เยอรมันช่วยคิดออกแบบจึงได้เป็นลำโพง Max ที่แมตช์กับเครื่องเสียงของ Unison ได้ดีเยี่ยม ด้วยความไวที่สูงถึง 93-96 db. และปัจจุบันลำโพง Max มีทั้งหมดสามรุ่นด้วยกันคือ ตัววางหิ้ง Max mini และตัวตั้งพื้นสองรุ่นคือ Max1, Max2 ครับ”

     “ในแง่ของผลกระทบจากดิจิตอลนั้นมีแน่ ถ้าเรามองย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีก่อน digital source ถือว่ามีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด และคุณภาพดีกว่าสมัยนั้นเยอะ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ CD ในความเห็นของผมยังคิดว่าเสียงจาก CD ยังมีคุณภาพดีกว่าการสตรีมมิ่ง และเชื่อว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า CD ก็ยังคงอยู่ ส่วนอีกสิบปีข้างหน้านั้นไม่แน่”

   “แต่การสตรีมนั้นสะดวกใช้งาน อาจเป็นที่สนใจของนักเล่นระดับเริ่มต้นมากกว่า”

    ในด้านของตลาดนั้น ตลาดเอเชียถือว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมาก และผู้บริโภคเองก็เปิดกว้างไม่ยึดติดเหมือนชาวยุโรป มีอะไรก็ feedback ทำให้เรารู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา ส่วนในประเทศไทยนั้น เราได้คู่ค้าอย่าง วันพัฒน์ (59) ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ดีมาก ที่ไม่ใช่เพียงแค่เน้นแต่ขาย แต่ยังให้คำแนะนำและบริการที่ดีแก่ลูกค้าด้วย สำหรับลูกค้าชาวไทยที่กำลังมองหาเครื่องเสียงหลอดดีไซน์สวยๆ จากอิตาลี ที่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดได้ทุกย่านความถี่ของเสียงนั้น

     เชิญมาทดลองฟังได้ที่ห้องฟังของบริษัท วันพัฒน์ (59) จำกัด  เลขที่ 729/3 ถนนพระยาสุเรนทร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กทม.  โทร 02 175 2933

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here