ENIGMAcoustics จาก M1 ถึงโมเดล AP 2 Chapter 2

0
3335

ปรัชญาการออกแบบครอสโอเวอร์ Cross-over design

            ออดิโอไฟล์ทุกท่านคงทราบกันโดยทั่วไปว่า ลำโพงระบบที่มีจุดตัดครอสโอเวอร์ระบบสองทางส่วนใหญ่จะเลือกจุดตัดความถี่ที่ 2,000Hz – 4,000Hz เป็นหลัก แต่ทำไม ENIGMAcoustics M1 จึงได้เลื่อนจุดตัดลงมาที่ 1,100Hz นั่นแสดงว่าต้องมีอะไรพิเศษกว่าธรรมดา

            ทีมออกแบบของ ENIGMAcoustics มองเห็นว่า ช่วงความถี่นี้กลับเป็นช่วงความถี่ที่มนุษย์มีความอ่อนไหว และจับสังเกตได้ง่าย ทำให้การกำหนดจุดตัดในช่วงความถี่นี้ สร้างเสียงที่เป็นธรรมชาติ และสมจริงได้ยากสำหรับหูมนุษย์

            ยิ่งไปกว่านั้นผู้ฟังยังสามารถแยกแยะหรือจับผิดได้อย่างง่ายดาย ว่ารอยต่อของช่วงความถี่หรือเสียงไม่แนบเนียน

            การออกแบบลำโพงสองทาง สามทาง หรือมากกว่า มักถูกกระทำบนช่วงความถี่ที่ 2,000Hz – 4,000Hz ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่มนุษย์สามารถจับสังเกตได้ง่าย ENIGMAcoustics เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ดังนั้นจึงเลือกที่จะออกแบบลำโพงแบบสองทาง และกำหนดจุดตัดความถี่ให้ “ต่ำเป็นพิเศษ” โดยมีจุดตัดความถี่อยู่ที่ 1,100Hz เท่านั้น!

            เป็นการกำหนดให้ Tweeter ต้องรับหน้าที่สร้างเสียงสูงลงมาจนถึงช่วงกลาง แล้วตัวขับ Woofer รับช่วงต่อจากกลางตอนล่างจนถึงเสียงต่ำ ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบลำโพงโดยทั่วไป

            ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบ ทวีตเตอร์แบบพิเศษขึ้นมา เนื่องจากการกำหนดจุดตัดความถี่ที่ 1,100 Hz ตัวขับเสียง หรือลำโพงทวีตเตอร์จากผู้ผลิตต่างๆ ทั่วโลกไม่สามารถตอบสนองการใช้งานในช่วงความถี่ที่กำหนดไว้ได้

            ทาง ENIGMAcoustics จึงได้ออกแบบไดร์เวอร์ทวีตเตอร์ของตัวเองขึ้นมา และเพื่อให้ทวีตเตอร์นี้สามารถสร้างเสียงสูง และเสียงกลางได้อย่างครอบคลุม มากกว่าทวีตเตอร์ทุกรุ่นที่เคยมีมา ขนาดของทวีตเตอร์จึงมีขนาดใหญ่ถึง 35 มิลลิเมตร ในขณะที่ทวีตเตอร์โดยทั่วไปมีขนาดเพียง 25 มิลลิเมตรเท่านั้น

            การออกแบบตัวขับทวีตเตอร์ ทางผู้สร้างได้ทุ่มเททรัพยากรในการสร้างเสียงในย่านความถี่ที่มนุษย์สามารถได้ยินให้สมจริง เป็นธรรมชาติ และมีฮาร์โมนิคและเฟสของเสียงถูกต้องที่สุด มากกว่าที่จะผลักดันให้ทวีตเตอร์สามารถตอบสนองความถี่ในช่วงที่มนุษย์ไม่ได้ยิน

            โดยผลักความถี่สูงจนถึงช่วงความถี่ ที่เกินกว่ามนุษย์ได้ยินตามปกติ ให้ไปใช้ซูเปอร์ทวีตเตอร์แทน

            จากการทดลองสร้างทวีตเตอร์จากวัสดุหลากหลายชนิด ทั้งไทเทเนียม เบริลเลียม หรือเซรามิค แต่วัสดุที่ทาง ENIGMAcoustics เลือกใช้ทำทวีตเตอร์     คือ โดมผ้าไหม โดยออกแบบให้เป็น Silk soft dome ที่สามารถให้การตอบสนองความถี่สูงไล่ลงมาถึงกลางได้อย่างราบเรียบที่สุด

            ในขณะเดียวกัน ENIGMAcoustics ก็ได้ออกแบบ Woofer ที่สามารถสร้างความถี่ต่ำได้ถึง 28Hz ในสภาวะใช้งานจริง ซึ่งแตกต่างจากการผลทดสอบของลำโพงอื่นๆ ที่มักจะทำให้ห้องทดสอบเสียง โดยสร้างขดลวดแม่เหล็กกำลังสูงเพื่อการตอบสนองความถี่ต่ำที่รวดเร็วและกระชับ โดยจะเน้นการออกแบบตัวขับทวีตเตอร์ และ วูฟเฟอร์ให้มีค่าความเพี้ยนต่ำมากๆ

            หรือเรียกว่าลำโพงจะใช้เฉพาะตัวขับเสียงแบบ Ultra-low distortion เท่านั้น

            ส่งผลให้ลำโพง M1 ซึ่งเป็นลำโพง flagship สามารถสร้างความถี่ต่ำได้หนักแน่น และสมจริงเวลาใช้งานได้เหนือกว่าลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่เสียอีก

            หมายเหตุ ลำโพง M1 คือลำโพง flagship ที่ประกอบด้วย ซูเปอร์ทวีตเตอร์ sopranino2 ซึ่งใช้หลักการ self-biased electrostatic (SBESL™) และชุดลำโพงรวมขาตั้ง

            ในขณะที่ลำโพง AP2 คือลำโพงในชุด M1 ที่นำมา scale down ไม่ได้รวมส่วนซุปเปอร์ทวีตเตอร์และขาตั้ง

            สำหรับการออกแบบตู้ลำโพง ทาง ENIGMAcoustics เลือกใช้แผ่นอะลูมิเนียมหนา 25 มิลลิเมตรเป็น front panel และมีการออกแบบอะคูสติก ทั้งมุมกระจายเสียง และสร้าง shallow horn profile สำหรับยึดดอกลำโพง เพื่อกำหนดทิศทางการกระจายเสียง ความเข้มของเสียง และเรโซแนนซ์ ของทวีตเตอร์และวูฟเฟอร์

            นอกจากนี้ ลำโพง M1 ยังได้เลือกใช้วัสดุหลากหลายชนิดเช่น อะลูมิเนียม ไม้ MDF และกระจก ในการสร้างลำโพง M1 ขึ้นมา เพราะจากการทดลองสร้างโมเดลลำโพงจากวัสดุหลายๆ อย่าง พบว่าวัสดุทั้งสามชนิดนี้ นอกจากจะให้เสียงที่เสียงที่เป็นธรรมชาติและสมจริงที่สุดแล้ว เมื่อนำมาประกอบเป็นชุดลำโพงยังให้ภาพลักษณ์สวยงามหรูหรา ดังนั้นความงามเชิงศิลป์และคุณภาพเสียงที่เหนือชั้น คือปรัชญาการออกแบบของ ENIGMAcoustics

            นี่คือ ENIGMAcoustics M1 ที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากในตลาดโลกสร้างความอัศจรรย์ใจต่อผู้รับฟังทุกครั้งที่ได้ยลยิน

            เราขอเชิญท่านติดตาม Chapter ที่ 3 ที่จะเปิดเผยคีย์แมน ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของENIGMAcoustics นั่นคือคุณ Marshall Lee หลักการและเหตุผลที่น่าสนใจกว่าที่เราเคยเรียนรู้มาในอดีต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Website : www.kstudiothai.com

Facebook : www.facebook.com/kstudiothai

Line : @Kstudio

Tel. 085 489 7606

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here