JBL Bar 9.1 TRUE WIRELESS SURROUND

            นี่คือระบบซาวนด์บาร์ จาก JBL ออกวางจำหน่ายใหม่ล่าสุด พร้อมกันถึงสามรุ่น ได้แก่ JBL Bar 9.1 ระบบเสียง 3D , JBL Bar 2.1 ระบบ Deep Bass และ JBL Bar 2 แบบ All in One  ซึ่งจะเหมาะแก่ขนาดห้องของคุณ ตั้งแต่ 20 ตารางเมตร ในรุ่นใหญ่ และ 16 ตารางเมตร ในรุ่นกลางและรุ่นเล็ก เรียงลำดับลงมา ทั้งนี้ผมอ้างอิงจากผลในการทดสอบของผมเอง ซึ่งหมายถึงการรับฟังแบบหวังผลเต็มร้อยนะครับ

            กระนั้นก็ตาม หากต้องการใช้งานในห้องทั่วไป และจัดระยะนั่งฟังห่างออกมาไม่เกิน สามเมตร ซาวนด์บาร์ซีรีส์นี้สามารถแผ่อาณาบริเวณเสียงออกไปได้กว้าง พอที่จะครอบคลุมถึง 30-40 ตารางเมตรก็ยังได้ครับ

            ในการทดสอบนั้นผมเน้นการทดสอบที่รุ่นหลักคือ JBL Bar 9.1 ซึ่งออกแบบมาได้อย่างพิเศษ สำหรับการตอบรับกับระบบเสียง Dolby Atmos รวมถึง DTS:X ที่หมายถึงระบบเซอร์ราวนด์แบบสามมิติหรือ 3D นั่นเอง

            Bar 9.1 Dolby Atmos Soundbar รุ่นนี้ ดีไซน์ด้วยความพิเศษ รูปทรงเพรียวบาง แบ่งตัวขับเสียงให้ทำงานตรงกับจุดตำแหน่งเสียงรอบทิศทางอย่างลงตัว ซึ่งหากทำงานในระบบเสียงรอบทิศออพเจ็คเบส แบบ Dolby Atmos จะเป็นระบบ 5.1.4 แชนแนล โดยเฉพาะตัวขับเสียง Surround นั้น จะมีสี่ตัวขับแบบฟูลเร้นจ์ ที่ยิงเสียงรายรอบสองตัว และยิงเสียงขึ้นเบื้องสูงแบบ upfiring fullrange

            ในตู้ซาวนด์บาร์ มีตัวขับเสียงฟูลเร้นจ์หลักของเวทีด้านหน้า 4 ตัว (Racetrack drivers) ผนวกด้วยชุดลำโพงยิงเสียงขึ้นเพดานแบบฟูลเร้นจ์ อีก 2 ตัว ทวีตเตอร์ ขนาด 20 มิลลิเมตร 3 ตัว ส่วนโครงสร้างลำโพงที่แยกได้แบบเซอร์ราวนด์ไร้สาย มีตัวขับอีก 2 ตัว พร้อมทวีตเตอร์ ขนาด 20 มิลลิเมตร อีก 2 ตัวคู่กันด้วย

            และตู้ซับความถี่ต่ำซับวูฟเฟอร์ ขนาด 10 นิ้ว มีกำลังขับแบบแยกอิสระ ที่เชื่อมต่ออัตโนมัติด้วยระบบ wireless ทำให้จัดตำแหน่งวางได้อย่างง่ายดาย

            ไดรฟ์เวอร์หรือตัวกับเสียงทุกตัวนั้นจะทำงานอย่างแยกอิสระ และประสานกันตามที่ระบบวงจรของซาวนด์บาร์กำหนด การสอดประสานกับระบบเสียงจากภาพยนตร์ต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นบลูเรย์ดิสก์ หรือภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix ก็ตาม เพราะภายในวงจรจะควบคุมด้วย DSP ที่ทันสมัยของ JBL

            หากระบบเสียงต้นทางเป็น Dolby Atmos ก็จะได้เวทีเสียงที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และมีเพดานเสียงด้านบนที่โอบล้อมอย่างน่าทึ่งมากเลยทีเดียว เรียกว่า แหล่งโปรแกรมไปสุดแค่ไหน JBL Bar 9.1 สามารถถ่ายทอดได้เต็มร้อย ไม่แพ้ลำโพงแยกชิ้นเลยแม้แต่น้อย

            สำหรับกำลังขับโดยรวม 820 วัตต์ แบ่งออกเป็น

            กำลังขับของ Sound-Bar ที่ 400 วัตต์

            กำลังขับของช่องเสียงเซอร์ราวนด์ ที่ 60 วัตต์ x 2 แชนแนล

            กำลังขับของ Subwoofer ที่ 300 วัตต์

            แต่ในแง่การออกแบบ ที่ต้องถือว่าน่าทึ่ง และไม่เหมือนใครคือตัวซาวนด์บาร์รุ่นนี้ ดีไซน์ให้สามารถถอดช่วงต่อด้านซ้าย ขวา ที่เป็นลำโพงเซอร์ราวนด์แยกไปตั้งด้านหลังได้! ระบบนี้ คือ TRUE WIRELESS SURROUND เป็นเอกลักษณ์ของ JBL เท่านั้น และเมื่อส่วนตู้เซอร์ราวนด์ประกอบติดกับตัวบาร์หลัก จะมีระบบชาร์จไฟ โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง แต่เมื่อถอดออกแยกส่วน จะใช้งานต่อเนื่องได้ 10 ชั่วโมงเลยทีเดียว

            โครงสร้างผสมผสานโลหะแกร่ง แข็งแรง พร้อมตะแกรงหน้าโลหะอ่อนสวยงามมาก พร้อมดิสเพลย์แสดงผลของการสั่งงานจากรีโมตคอนโทรล การเชื่อมต่ออินพุต ใช้ระบบสายHDMI เป็นหลัก เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อน ระหว่าง Sound-Bar, Subwoofer และ จอ TV ที่ใช้งานร่วมกัน

            ด้วยพลังเสียงรวมถึง 820 วัตต์  ถือว่า เหลือพอในห้องขนาดใหญ่ทั่วไปครับ ซาวด์บาร์ JBL Bar 9.1 นี้รองรับการส่งผ่านสัญญาณภาพ 4K HDR มาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทางช่องHDMI

            ลำโพงซาวด์บาร์รุ่น BAR 9.1 ยังมาพร้อม ระบบ Google Chromecast คือเราสามารถสตรีมเพลงแบบไร้สายไปเล่นที่ตัวซาวนด์บาร์ได้โดยตรง นอกจากนั้น ยังใช้ได้กับการสตรีม Apple AirPlay 2 และ Bluetooth อีกต่างหาก

            เมื่อพิเคราะห์ดูระบบการเชื่อมต่อต่างๆ จากตัวซาวด์บาร์รุ่นนี้ พบว่าสนองตอบกับ Wifi 2.4/5GHz Ethernet รองรับ Bluetooth เวอร์ชั่น 4.2 ช่องต่อแบบ HDMI หลัก คือ HDMI อินพุตหนึ่งช่อง ช่องต่อ HDMI แบบ eARC และ HDMI HDCP 2.3 มีช่องดิจิตอล Optical และ USBครบครัน

   On Test

            เพื่อความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัว ผมได้ติดต่อกับทาง บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด เพื่อที่จะเข้าไปทดสอบ JBL Bar 9.1 รุ่นนี้ที่โชว์รูม ซึ่งก็ได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดีครับผม

            ในการทดสอบนั้นก็ต้องบอกว่าใช้แผ่น Blu ray 4K เป็นหลักนะครับ เพื่อความแม่นยำของสัญญาณและความมั่นใจ กับความเคยชินของผู้ทดสอบด้วย ภาพยนตร์ก็มีทั้งแอ็คชั่น ดรามา และภาพยนตร์ที่เน้นดนตรีซาวด์แทร็คประกอบภาพยนตร์ที่มีความไพเราะ ที่สำคัญคือผมคุ้นเคยและใช้ในการทดสอบอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งหนังชุด Star Wars, Jems Bond , Flight  หนังที่แสดงสภาวะตื่นตระหนกเมื่อเครื่องบินประสบสภาวะฉุกเฉิน  Life of Pi , Mission Impossible FALL OUT รวมถึงหนังใหม่ที่มาร้อนๆ เลยคือ IP MAN 4 Finale

            เมื่อเราวางทั้งชุดของ JBL Bar 9.1 รวมทั้งหมดไว้ด้านหน้าจอทีวี (ไม่แยกชิ้นด้านข้าง ชุดเซอร์ราวด์ออกไป) การทำงานของระบบจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติทั้งหมด เราจะไม่สามารถ Control เฉพาะ Surround ด้านหลังได้ นอกเสียจากว่าเราจะดึงเอาส่วนด้านซ้าย และด้านขวาของชุดเซอร์ราวด์แยกออกไปในลักษณะ TRUE WIRELESS SURROUND ในตอนนั้นก็จะเลือก Surround ได้สามระดับ ระหว่าง low, mid, high

            ถ้าถามว่าควรจะแยกชุดลำโพงเซอร์ราวนด์ไปไว้ด้านหลังดีหรือไม่?

            ผมอยากให้ขึ้นอยู่กับลักษณะการฟังมากกว่า คือถ้าห้องมีความโปร่งโล่ง เช่นในห้องรับแขก โถงทั่วไป ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องแยกตัวลำโพง Surround ออกไป

            แต่ถ้าหากห้องที่มีสัดส่วนมิดชิดต้องการแยกลำโพง Surround ไปไว้ด้านหลังต่างหาก ก็สามารถทำได้ผลลัพธ์ของเสียงนั้น ผมคิดว่ามีความใกล้เคียงกันอยู่ เพราะระบบอัตโนมัติของ JBL Bar 9.1 แม้จะวางลำโพงอยู่ด้านหน้า เสียงก็สามารถให้เสียงโอบล้อมด้านหลังได้อย่างวิเศษมากครับ

            เหมือนเราตั้งลำโพงแยกอิสระออกจากกัน ในชุดใหญ่แบบรีซีพเวอร์ และลำโพงครบเซ็ต ผมประมาณว่า JBL Bar 9.1 คุณภาพเสียงน่าจะใกล้เคียงกับรีซีฟเวอร์ และลำโพงชุดขนาดกลางๆ ได้อย่างสบายมาก

            การออกแบบระบบ DSP อันชาญฉลาดภายในตัวเครื่องทำได้อย่างดีเยี่ยมจริงๆ ทุกอย่างมันประสานกันครับ ถ้าการบันทึกเสียงจากสตูดิโอภาพยนตร์นั้นมีการแยกเสียงที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว มันก็ให้คุณภาพที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกัน

            สังเกตได้จากแผ่นบลูเรย์ดิสก์ ที่บันทึกเสียงในระบบ Dolby Atmos มาตั้งแต่ต้นทาง ความกว้างความลึกของเวทีเสียง Sound Stage ต้องถือว่าใหญ่โตโอฬารจนเหลือเชื่อเลยทีเดียว ทั้งที่ตัวซาวนด์บาร์ขนาดแบนบางก็วางอยู่ข้างหน้าเราตำแหน่งเดียวแท้ๆ!

            ความถี่ต่ำจากซับวูฟเฟอร์นั้นประสานกับซาวนด์บาร์อย่างกลมกลืนลงตัว นี่คือระบบไร้สายที่ติดต่อเชื่อมประสาน ไม่เป็นรองการต่อสายสัญญาณครับ อันนี้ต้องถือว่าให้ความตื่นเต้นและประสบการณ์กับเราอย่างสูงค่าเลยทีเดียว

            JBL นำพาระบบ Wireless Subwoofer พัฒนามาไกลมากครับผม!

            ข้อแนะนำที่อยากจะเสนอไว้ตรงนี้ก็คือถ้าสามารถทำได้ ให้วางตู้ซับวูฟเฟอร์ไว้ในระนาบเดียวกับซาวนด์บาร์ จะอยู่ด้านใต้ อยู่ด้านข้างก็ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็พยามหาจุดที่สมดุล ที่ใกล้สุด อันที่จริงจะวางไกลก็ได้ เพราะการเชื่อมประสานนั้น ในระหว่างสี่ถึงห้าเมตรก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร การเชื่อมต่อยังคงให้ความสมบูรณ์อยู่ระหว่างตัวซาวนด์บาร์และตู้ซับวูฟเฟอร์

            เสียงเบสหรือเสียงต่ำจากตู้ซับวูฟเฟอร์ให้พลังเต็มที่มาก กลมกลืนกับตัวซาวนด์บาร์ แต่เราก็สามารถที่จะเลือกระดับความดังของความถี่ต่ำได้ ตามความต้องการจากรีโมตคอนโทรลอย่างง่ายๆ ครับ ว่าจะต้องการระดับ สูง กลาง หรือ ต่ำลง

            รีโมตคอนโทรลมีขนาดเล็กจิ๋วมาก เพรียว และถนัดมือ มีปุ่มฟังก์ชั่นเพียง TV, Bluetooth, Atmos, HDMI, โวลุ่ม + –  ปุ่มปิดเสียง  นอกจากนั้น คือปุ่มเลือกระดับ Bass, Rear ซึ่งก็ทำงานได้อย่างครบถ้วนไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง

            ผมเลือกดูฉากเด็ดๆ ในภาพยนตร์บลูเรย์อย่างสนุกสนานเลยทีเดียว มีความรู้สึกเหมือนเรากำลังทดลองชุดโฮมเธียเตอร์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องเสียงโอบล้อมด้านหลังนี้ ต้องถือว่าน่าทึ่งเลยทีเดียว ที่สามารถส่งสัญญาณให้เราได้ยินอย่างถนัดชัดเจน

            และเหลือเชื่อว่า ในแผ่นภาพยนตร์ที่บันทึกเสียงแบบ Dolby Atmos นั้น มีเวทีเสียงโอบล้อม ที่นอกจากด้านหลัง ด้านข้างซ้าย-ขวาแล้ว เสียงจากเพดานด้านสูงก็ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนด้วย ทำให้เราเข้าถึงอรรถรสของภาพยนตร์ ที่เรียกว่า เสียงแบบ 3D อย่างเต็มอิ่มเลยทีเดียว

            เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ผมคุ้นเคยจาก Dances with Wolves และ Life of Pi ก็สามารถแยกแยะ เด่นออกมาจากเสียงรอบทิศทาง ทำให้เสียงดนตรีมีความโดดเด่นมีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้สร้างภาพยนตร์ และตัวเราเองก็ได้รับความรู้สึกที่ประทับใจยิ่งนัก

            อันที่จริงตั้งแต่เริ่มทดสอบเป็นต้นมาเพราะผมได้ชมสองฉากเด็ดในภาพยนตร์สองเรื่องนี้ คือ แชปเตอร์ 18 ฉากปลาบิน ใน Life of Pi และแทบทุกช่วงของ Mission Impossible FALL OUT ก็แทบจะลงความเห็นได้เลยว่า นี่คือพัฒนาการที่ดีที่สุดของระบบซาวด์บาร์ที่เราสามารถได้รับฟังในปัจจุบัน

            มันคือบรรยากาศในโรงภาพยนตร์ครับท่าน! พลังเสียงต้องบอกว่า BAR 9.1 ส่งพลังแรงสุดยอดเลยทีเดียว มันทำให้ผมหรือใครก็ตามที่ได้ฟังแล้วคงต้องฉุกคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้รีซีฟเวอร์กับลำโพงแยกชิ้นที่วางแล้วระเกะระกะพื้นที่ห้องก็ได้ ถ้าระบบซาวนด์บาร์มีอานุภาพถึงเพียงนี้

            อยากให้คุณได้มีโอกาสทดลองฟังนะครับ ว่านี่คือการพัฒนาขั้นสูงสุดของระบบ Sound -Bar ในปัจจุบันก็ว่าได้ และด้วยราคา เปรียบเทียบกับคุณภาพ แล้วคุณจะต้องยอมรับว่าระบบเสียงโฮมเธียเตอร์ ซาวนด์บาร์นั้น ด้วยประสบการณ์อันยาวนานของ JBL ที่ทำระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน สามารถถ่ายทอดทุกคุณสมบัติดีเลิศของระบบเสียงสู่บ้านของคุณได้อย่างลงตัวที่สุด ยิ่งกว่าใคร

            แล้วต้องถือว่าเกินคุ้ม นอกจาก JBL Bar  9.1 แล้วยังมี Sound-Bar รุ่นเล็กอีกสองรุ่นที่น่าสนใจสำหรับห้องที่มีขนาดปานกลางนั่นก็คือ  JBL Bar 2.1 ระบบ Deep Bass (ผนวกตู้ซับวูฟเฟอร์) และ JBL Bar 2 แบบ All in One ที่ครบถ้วนในตัวเอง ขนาดย่อมๆ ด้วยลักษณะเสียงคุณภาพความทรงพลังที่ถอดดีเอ็นเอ มาจากรุ่นใหญ่ BAR 9.1 อย่างลงตัวมาก

            มาสัมผัสเสียงแห่งโรงภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ และสะดวกง่ายดายกว่าที่เคยครับ

            หาโอกาสฟังเทคโนโลยีซาวนด์บาร์ระดับสุดยอดได้ในวันนี้ที่ ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ และโชว์รูมมหาจักรฯ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด

 โทร. 02-256-0020  หรือ  www.mahajak.com

หมายเหตุ  

JBL Bar 2.0 > ราคาปกติ 9,000.- พิเศษ 5,990.-

JBL Bar 2.1> ราคาปกติ 18,000.- พิเศษ 12,900.-

JBL Bar 9.1> ราคาปกติ 48,000.- พิเศษ 29,900.-

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here